ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนด้วยคุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ
ชื่อผู้วิจัย นายสิทธิรัก ศิขิวัฒน์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ
โรงเรียน วัดป่า(ท่าขึ้น)
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔
ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาผู้เรียนโรงเรียนวัดป่า(ท่าขึ้น)
ให้มีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจ
ของครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดป่า(ท่าขึ้น) จำนวน 48 คน ครู จำนวน 9 คน ผู้ปกครอง
จำนวน 20 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจต่อพฤติกรรมของผู้เรียน แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน แบบสอบถามพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ผู้วิจัยดำเนินการ
จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตลอดปีการศึกษา 2563 เมื่อสิ้นปีการศึกษาแล้วจึงประเมินผลการจัดกิจกรรมโดยการใช้แบบสังเกตและแบบสอบถาม
และได้นำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย( X-bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ทดสอบความแตกต่างของคะแนนความพึงพอใจด้วยค่าที (t - test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด
2. ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
อยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
อยู่ในระดับมาก
3. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของผู้เรียน พบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจ
ต่อพฤติกรรมของผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 31.86 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.08 และหลังจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์แล้ว
ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมของผู้เรียน
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 40.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.66 และจากการทดสอบความแตกต่างของคะแนนความพึงพอใจต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้วยค่าที (t - test) พบว่า หลังการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมของผู้เรียนสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05