LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้
ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย
ปีที่วิจัย     นางสายใจ วรดี
2559
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5” ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ (4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2559 จ านวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จ านวน 21 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ จ านวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
จำนวน 7 ข้อ การวิจัยครั้งนี้ได้ด าเนินการ (1) ทดสอบก่อนเรียน (Pretest) โดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ จ านวน 30 ข้อ (2) จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 21 ชั่วโมง (3) ทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียน แล้วตรวจคะแนนและบันทึกผลไว้ในแบบทดสอบหลังเรียนในตารางบันทึกคะแนนเพื่อน าไปวิเคราะห์ต่อไป (4) ให้นักเรียนตอบแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และรวบรวมคะแนน (5) นำคะแนนที่ได้จากการท าแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน และจาก แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าที (t – test Dependent) ค่าเฉลี่ย (X) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งผลจากการวิเคราะห์สภาพจริงและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ โดยการสำรวจข้อมูลพื้นฐานวิธีการเรียนรู้สมรรถนะในการเรียนของนักเรียนจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนภาษาไทยอย่างไม่เป็นทางการและศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทย พบว่า นักเรียนขาดทักษะในการอ่านคิดวิเคราะห์ ไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ได้ เพราะนักเรียนไม่เห็นความส าคัญและความจำเป็นในการอ่าน และ ครูเน้นการสอนเนื้อหาเป็นสำคัญ และใช้การบรรยายเป็นส่วนใหญ่ ครูไม่เน้นกระบวนการให้นักเรียนปฏิบัติจริง ไม่ได้เน้นกระบวนการเรียนการสอนที่จะหาองค์ความรู้ใหม่ที่ท าให้นักเรียนเกิดการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์เอกสารต่างๆ แล้วผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ร่วมกับการออกแบบระบบการเรียนการสอน ADDIE Model ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methodology) โดยการนำแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งเป็นแนวทฤษฎีพื้นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้และศาสตร์การสอนร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
2. ผลจากการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับ
การใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตลอดจนการตรวจสอบคุณภาพและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พบว่า
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการน ารูปแบบไปใช้ ซึ่งมีขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1) ขั้นการกระตุ้นโครงสร้างทางปัญญา (Activating cognitive structure stage) ขั้นตอนที่ 2) ขั้นขยายโครงสร้างทางปัญญา (Expand the cognitive structure stage) ขั้นตอนที่3) ขั้นสนับสนุนการปรับสมดุลทางปัญญา (Support the cognitive structure balance stage) ขั้นตอนที่ 4) ขั้นส่งเสริมการขยายโครงสร้างทางปัญญา (Enhance theextension of cognitive structure stage) และขั้นตอนที่ 5) ขั้นการส่งเสริมและช่วยเหลือกระบวนการคิดวิเคราะห์ (Enhance and support the analytical thinking stage)
2.2 ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อพบว่าคุณภาพอยู่ในระดับดีมากเช่นกัน
2.3 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสารการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ80.14/82.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้วิจัยนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไปใช้ในสถานการณ์จริง (Implement) กับกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จ านวน 40 คน พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีความสามารถการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลิน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ นิทานพาเพลินกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมและรายข้ออยู่ระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^