การศึกษาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด....
ผู้วิจัย พัทธกานต์ อู่ทองมาก
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ คือ 1. ศึกษาการใช้แบบภาวะผู้นำที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 จำนวน 167 แห่ง จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา มีทั้งหมด 12 สถานการณ์ ได้ค่าความเที่ยงตรงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 3 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) การศึกษาแบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 ภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 จำนวน 167 คน ใช้แบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์การขายความคิด (S4) รองลงมาคือ การมีส่วนร่วม (S3) รองลงมาการขายความคิด (S2) และการสั่งการ (S1) ตามลำดับ
2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้แบบภาวะผู้นำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3
1) แบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ การสั่งการ (S1) พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรเน้นกฎระเรียบข้อบังคับและการใช้คำสั่งของโรงเรียนในการบังคับให้บุคคลที่อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องตรวจสอบดูว่าเขาเหล่านั้นได้ปฏิบัติงานอย่างดีที่สุดเท่าที่สามารถทำได้หรือไม่เพื่อให้งานนั้นสำเร็จ ผู้บริหารสามารถชักจูงหว่านล้อมให้ครูรับงานไปปฏิบัติเพื่อให้งานเหล่านั้นบรรลุวัตถุประสงค์ของโรงเรียน
2) แบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ การขายความคิด (S2) พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรดูแลการปฏิบัติงานของครูคอยชี้แนะบ้างว่าครูขาดความสามารถในการทำงานอะไร และความเป็นกันเองมากขึ้น แต่ถ้าผู้ตามได้รับการสนับสนุนให้ทำพฤติกรรมนั้นการให้รางวัลก็จะทำให้เกิดความเต็มใจที่จะรับผิดชอบงานและกระตือรือร้นที่จะทำงานมากขึ้น
3) แบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ การมีส่วนร่วม (S3) พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาให้การสนับสนุนไม่ออกคำสั่ง กระตุ้นให้ครูใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาต่อไป สำหรับครูที่มีความพร้อมระดับนี้ ความน่าจะเป็นไปได้ด้านประสิทธิผลอยู่ในระดับสูงสุด ผู้บริหารและครูต้องร่วมกันในการตัดสินใจบรรลุวัตถุประสงค์ของโรงเรียน
4) แบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ มอบหมายงาน (S4) พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาคอยให้คำแนะนำสนับสนุนและชี้แจงให้ครูเข้าใจถึงปัญหา ความรับผิดชอบสำหรับการปฏิบัติตามแผนให้สำเร็จครูจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการแสดงเอง และตัดสินใจเกี่ยวว่าปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติเมื่อไร โดยจะมอบความรับผิดชอบในกระบวนการดำเนินงานทั้งหมดให้กับครู