บทความวิชาการ บทบาทหน้าที่และภารกิจสำคัญในการพัฒนาระบบการประกันค
บทบาทหน้าที่ และภารกิจสำคัญในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศึกษาของบุคลากรระดับเขตพื้นที่การศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต ๑
.................................................................................................................................................
นางเปรมใจ อิฐอมรชัย
ศึกษานิเทศก์
การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต ๑ จะมีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรทุกคนทุกฝ่าย ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาตลอดทั้งสถานศึกษาต้องพร้อมรับการประเมินภายนอกด้วย ดังนั้น สถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีบทบาทหน้าที่และภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจข้างต้นของหน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมในอนาคตรวมทั้งมี การพัฒนาสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษายิ่งขึ้น บุคลากรของหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา ควรมีบทบาทหน้าที่และภารกิจสำคัญในการดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยเฉพาะบทบาทหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีรายละเอียด ดังนี้
บุคลากรระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๑. ผู้บริหารการศึกษา เช่น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๑) เตรียมความพร้อม
• ศึกษาแนวคิด ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับสถานศึกษาและศึกษาอย่างลุ่มลึกทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน สามารถเป็นที่พึ่งแก่สถานศึกษาได้อย่างสมภาคภูมิ
• กำหนดนโยบาย โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ของบุคลากรในสังกัดและมอบหมายงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับปฐมวัยให้มีผู้รับผิดชอบชัดเจนตรงตามความรู้ความสามารถประสบการณ์ ความถนัดและความสนใจ
• สร้างความตระหนักและจิตสำนึกแก่บุคลากรในการสร้างและพัฒนาให้เกิดเป็นวัฒนธรรมคุณภาพในการปฏิบัติงาน
(๒) ดำเนินการ
• จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นรายสถานศึกษา (School Profile) ได้แก่ สภาพการดำเนินงานด้านบริหาร ผลการตรวจสอบคุณภาพการศึกษารายปีของสถานศึกษาข้อเสนอแนะและผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา รอบแรกและรอบที่ ๒ เพื่อสร้างเป็นข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Data) และเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาคุณภาพอย่างเป็นระบบ
• กำหนดเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ระดับเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำคู่มือดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพระดับเขตพื้นที่การศึกษาโดยให้ชุมชนองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ตลอดจนบุคลากรในสำนักงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
• พัฒนาบุคลากรในสังกัดให้มีหรือเพิ่มพูนความรู้ความสามารถมีขวัญกำลังใจ ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพภายในอย่างมีคุณภาพมีการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการในเวลาที่กำหนด
• กำหนดวิธีการและดำเนินการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปีเพื่อให้สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งสามารถนำสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างสอดคล้องต่อเนื่องเป็นระบบบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของสถานศึกษาได้ชัดเจนตามสภาพจริง โดยเฉพาะการเสนอแนะให้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของตนเองและข้อเสนอแนะของการประเมินภายนอกรอบที่ผ่านมาเป็นเหตุผลในการจัดทำแผนงาน / โครงการ การประเมินภายในและการจัดทำรายงานประจำปีที่มีการปฏิบัติเป็นคณะและรับรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องทั่วถึง (school wide) ทุกขั้นตอน
(๓) กำกับ ติดตาม และประเมินผล
• วิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาแล้วประมวลผลเป็นระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อจัดทำเป็นรายงานประจำปี
• สรุปและเผยแพร่ผลการดำเนินงานต่อสาธารณชนประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๔) ปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินอย่างต่อเนื่อง
• นำผลการดำเนินงานไปวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ต่อเนื่อง
๒. ศึกษานิเทศก์หรือผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ
(๑) วางแผน
• ศึกษาแนวคิด ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพตามบริบทของสถานศึกษา
• จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในตามส่วนที่ตนรับผิดชอบ ได้แก่ สภาพการดำเนินงานด้านบริหาร ผลการตรวจสอบคุณภาพการศึกษารายปีของสถานศึกษา ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา รอบแรกและรอบที่ ๒ เพื่อสร้างเป็นข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Data) รายโรง และรายปี ซึ่งเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาคุณภาพอย่างเป็นระบบ
• ร่วมกำหนดนโยบาย เป้าหมาย มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ระดับเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาที่สอดรับกับนโยบายและเป้าหมายที่กำหนด
• กำหนดแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในรูปแบบของตนเองที่สอดคล้องกับแนวทาง/คู่มือดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยให้ชุมชน องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ตลอดจนบุคลากรในสำนักงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นนำเสนอผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป
(๒) ดำเนินการ
• ชี้แจงทำความเข้าใจผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ นโยบาย เป้าหมาย มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ ตลอดจนวิธีการการติดตามตรวจสอบและเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน
• นำแผนการดำเนินงานสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
(๓) นิเทศ ติดตาม และตรวจสอบ
• นิเทศ ติดตามและตรวจสอบเพื่อให้สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งสามารถนำสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างสอดคล้องต่อเนื่องเป็นระบบ
• สรุปผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นรายสถานศึกษา สรุปในภาพรวมระดับเขตพื้นที่การศึกษาเทียบเคียงกับระดับประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งกำหนดมาตรการเร่งรัดคุณภาพสถานศึกษากรณีที่พัฒนาไปไม่ถึงมาตรฐานหรือไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
• วิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาแล้วประมวลผลจัดกลุ่มโรงเรียนตามผลการประเมินเพื่อการพัฒนาจัดทำเป็นข้อมูลและสารสนเทศรายงานประจำปี
(๔) ปรับปรุง และพัฒนา
• นำผลการติดตามตรวจสอบมาปรับปรุงและพัฒนาแผนการดำเนินงานให้มีคุณภาพสูงขึ้น
• ประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ผลการดำเนินงานหรือความสำเร็จ
๓. บุคลากรสนับสนุน
บุคลากรสนับสนุน หมายถึง นักวิชาการศึกษา เจ้าหน้าที่กลุ่มงานอื่น ๆ ในหน่วยงานต้นสังกัดหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ กลุ่มงานอำนวยการ กลุ่มงานนโยบายและแผน กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน กลุ่มงานบริหารงานบุคคล กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการศึกษาและหน่วยตรวจสอบภายใน คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา คณะอนุกรรมการบริหารบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) คณะกรรมการติดตามตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) รวมทั้ง หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่นควรให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการดำเนินงาน ดังนี้
• ศึกษาแนวคิด ระเบียบ กฎหมาย แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
• สนับสนุนการพัฒนาสถานศึกษาตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
• ติดตาม ตรวจสอบและประเมินสถานศึกษาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง
• เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานและร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่าง
• ต่อเนื่องให้เป็นระบบต่อไป