LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

การจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

usericon

การจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ
เพื่อส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต1
                 นายมานพ เทพบุตร
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สพป.ปราจีนบุรี เขต 1

    การพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษานั้น นอกจากจะดำเนินการด้วยการส่งเสริม สนับสนุนนักเรียนแล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาเนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งด้านการสื่อสารเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้คนในเชิงบวกแล้ว ในเชิงลบก็ปรากฏเช่นกัน เป็นต้นว่าปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการระบาดของสารเสพติด ปัญหาการแข่งขันในรูปแบบต่าง ๆ ปัญหาครอบครัวซึ่งก่อเกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด การปรับตัวที่ไม่เหมาะสมหรืออื่น ๆ ที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตและสภาพกายของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ภาพความสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามความมุ่งหวังนั้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกคน โดยเฉพาะบุคลากรครูทุกคนในโรงเรียน ซึ่งมีครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการต่างๆเพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิดด้วยความรักและเมตตาที่มีต่อศิษย์ และภาคภูมิใจในบทบาทที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้เติบโตงอกงาม เป็นบุคลที่คุณค่าของสังคมต่อไป
    ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ให้มีความสมบูรณ์พร้อมอย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนให้มีทักษะในการดำรงชีวิต จึงจำเป็นที่ทุกโรงเรียน ในฐานะหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้เรียน และแก้วิกฤติสังคม จึงควรนำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน ซึ่ง เมื่อกล่าวถึงระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จะหมายถึง กระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน พร้อมทั้งมีวิธีการและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน คุณภาพ และมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้โดยมีครู ประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และนอกสถานศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร และครูทุกคน มีวิธีการและเครื่องมือ ที่ชัดเจน มีมาตรฐานคุณภาพ และมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้ ซึ่งกระบวนการและขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ 1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2. การคัดกรองนักเรียน 3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา 4. การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน 5. การส่งต่อ
    นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ เป็นกลุ่มหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องทำการค้นพบ และดูแลช่วยเหลือให้พวกเขาสามารถเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนคนอื่น ๆ ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ ซึ่งเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีสภาพความบกพร่องในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะทางด้านพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษา หรือสติปัญญา และไม่สามารถปฏิบัติงานในชีวิตประจำวันได้ดังเช่น เด็กปกติทั่วๆไป รวมถึงทางด้านการจัดการศึกษาซึ่งต้องจัดให้มีการเรียนการสอนที่ต่างไปจากเด็กปกติ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพของความบกพร่องของเด็ก ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ แบ่งลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือผิดปกติทางร่างกาย สติปัญญา และทางจิตใจ ออกเป็นประเภทต่างๆ 9 ประเภทคือ
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
3. . เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
7. เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
8. เด็กออทิสติก
9. เด็กพิการซ้อน
ตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ได้กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ทางการ
ศึกษาสำหรับคนพิการไว้ว่า คนพิการมีสิทธิได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความ
พิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทาง
การศึกษา และมีสิทธิเลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึง
ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และความต้องการจำเป็นของบุคคลนั้น รวมถึงได้รับการศึกษาที่มี
มาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้การทดสอบทาง
การศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล
    หากปราศจาก การนำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไปปฏิบัติในโรงเรียน ก็จะเป็นการยากที่ครูผู้สอนจะเข้าใจสภาพที่เป็นปัญหาของผู้เรียน และคงไม่สามารถช่วยเหลือหรือส่งเสริมศักยภาพทางการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าในการการช่วยเหลือส่งเสริมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องรู้จักนักเรียนอย่างลึกซึ้ง การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลจะช่วยให้ครูมีข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการช่วยเหลือให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ในกระบวนการคัดกรองนั้น ครูผู้สอนก็ต้องอาศัยข้อมูลจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนมาประกอบในการวิเคราะห์สภาพที่เป็นปัญหาเหล่านั้น ตามที่กำหนดในเครื่องมือคัดกรอง เพื่อที่จะได้สามารถวางแผนการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาส่งเสริมได้อย่างถูกต้องแม่นยำ หากว่าปัญหาของผู้เรียนต้องใช้ความร่วมมือจากบุคลากร หรือผู้รู้อื่น ๆ มาช่วยในการแก้ไข ก็จำเป็นต้องมีกระบวนการส่งต่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ จึงจะทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเหมาะสม และเรียนรู้ในโรงเรียนร่วมกับนักเรียนปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน สนองตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 ดังกล่าวข้างต้น
    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ได้พัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษาเกิดความเข้มแข็งในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาระบบคัดกรองโดยการให้ความรู้ครูผู้สอนให้มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการคัดกรอง ตามเครื่องมือคัดกรองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภท การพัฒนาผู้คัดกรอง การพัฒนาความรู้ความเข้าใจการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครูผู้สอน การจัดค่ายพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความต้อง การพิเศษ การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษโดยมีชมรมครูการศึกษาพิเศษเป็นกลจักรสำคัญ และการคัดเลือกครูต้นแบบเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนานักเรียน โดยกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาได้ใช้กระบวนการดำเนินงานตามรูปแบบ N2I (เอ็น ทู ไอ) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษของโรงเรียนในสังกัด
รายละเอียดของกระบวนการ N2I ที่ใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพ ประกอบด้วย
1.    Networking การใช้ระบบเครือข่ายในการพัฒนา ซึ่งเครือข่ายที่ใช้ประกอบด้วย เครือข่ายดิจิตัล
( Digital Network ) เครือข่ายสถานศึกษา ( School Network ) และเครือข่ายครู (Teacher Network )
2.    Information การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาการดำเนินงาน ซึ่งข้อมูลที่ใช้
ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่าง ๆ เพื่อประกอบการวางแผน ตัดสินใจ ( Based-line Information ) ข้อมูลระหว่างการดำเนินงานเพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน ( Developed Information ) และข้อมูลสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อใช้กำหนดจุดการพัฒนาต่อไป ( Conclusion Information )
3.    Inspiration การสร้างแรงบันดาลใจ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่ครู และผู้บริหารในสังกัด
โดยการมอบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ผ่านกิจกรรมการนิเทศอย่างกัลยาณมิตร
    จากการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ส่งผลให้สถานศึกษาในสังกัดเกิดความเข้มแข็งในการดำเนินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถให้ความช่วยเหลือ และส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนในสังกัดได้อย่างทั่วถึง และตรงตามสภาพปัญหา สัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี และอบอุ่น นักเรียนรู้จักตนเอง และควบคุมตนเองได้ นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และได้รับการส่งเสริมพัฒนาเต็มตามศักยภาพอย่างรอบด้าน เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 มีผลการพัฒนาดีเด่นด้านการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้รับรางวัลระดับทอง ของเขตตรวจราชการที่ 9 และรางวัลระดับเงิน จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และในปี 2563 โรงเรียนในสังกัด ได้แก่โรงเรียนชุมชนวัดหนองจวงได้รับรางวัล ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่นระดับทอง จากเขตตรวจราชการที่ 9 และรางวัลระดับยอดเยี่ยม จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ในเมื่อโรงเรียนเป็นหน่วยงานในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งไม่มีสิทธิ์ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย หรือปฏิเสธการให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนที่ผ่านเข้ามาได้ ในบางครั้งเราอาจไม่ทราบเลยว่า นักเรียนในความดูแลของเราที่ดูเหมือนจะเป็นเด็กปกติ ซึ่งน่าจะมีความสามารถเรียนรู้ได้เหมือนเพื่อนๆทั่วไป แต่แท้จริงแล้ว เป็นนักเรียนกลุ่มพิเศษ ที่โรงเรียนต้องจัดการศึกษาให้พวกเขาเป็นกรณีเฉพาะ ให้ตรงตามความต้องการของพวกเขา หากโรงเรียนไม่สามารถค้นพบพวกเขาได้อย่างทันท่วงที ก็ย่อมทำให้พวกเขาเหล่านั้นขาดโอกาสในการพัฒนา และอาจส่งผลเชิงลบที่ไม่พึงประสงค์ตามมา การพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษจึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่บุคลากรในสถานศึกษาต้องร่วมด้วยช่วยกันในการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและตรงกับสภาพปัญหาความต้องการ ส่งผลให้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาเกิดความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^