รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของ กศน.
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด
จังหวัดเชียงใหม่ (OLIFT Model)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวประภาภรณ์ คำโอภาส
ปีที่พิมพ์ : 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการ และปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีวิธีดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จในการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ ขั้นตอนที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการพัฒนาทักษะเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่โดยรวม มีสภาพอยู่ในระดับน้อย ( = 1.71 , S.D. = 0.57) โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะจัดบรรยากาศการเรียนรู้ (Learning Atmosphere Skill) ( = 2.07, S.D. = 0.61) รองลงมาคือ ทักษะใช้เทคโนโลยี (Technology Skill) ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะชี้แนะแนวทาง (Instructional Coaching Skill) ( = 1.47 , S.D. = 0.55) สำหรับปัญหาการพัฒนาทักษะเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่โดยรวม มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D. = 0.69) โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะชี้แนะแนวทาง (Instructional Coaching Skill) ( = 4.53, S.D. = 0.64) รองลงมา คือ ทักษะจัดระบบการเรียนรู้ (Organizing for Learning Skill) ( = 4.51, S.D. = 0.68) ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะจัดบรรยากาศการเรียนรู้ (Learning Atmosphere Skill) ( = 3.62 , S.D. = 0.69) ส่วนความต้องการพัฒนาทักษะเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่โดยรวม มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = 0.66) โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะจัดระบบการเรียนรู้ (Organizing for Learning Skill) ( = 4.59, S.D. = 0.66) รองลงมา คือ ทักษะชี้แนะแนวทาง (Instructional Coaching Skill) ( = 4.58, S.D. = 0.63) ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะจัดบรรยากาศการเรียนรู้ (Learning Atmosphere Skill) ( = 3.81, S.D. = 0.66)
2. รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ คือ รูปแบบ OLIFT Model ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ สรุปได้ ดังนี้
2.1 หลักการของรูปแบบ
2.2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
2.3 องค์ประกอบของทักษะผู้อำนวยการเรียนรู้และขั้นตอนการดำเนินงาน (Input)
2.3.1 องค์ประกอบของทักษะผู้อำนวยการเรียนรู้ (Learning Facilitator) มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้
ทักษะที่ 1 ทักษะจัดระบบการเรียนรู้ (Organizing for Learning Skill ซึ่งเป็นทักษะ O)
ทักษะที่ 2 ทักษะจัดบรรยากาศการเรียนรู้ (Learning Atmosphere Skill ซึ่งเป็นทักษะ L)
ทักษะที่ 3 ทักษะชี้แนะแนวทาง (Instructional Coaching Skill ซึ่งเป็นทักษะ I)
ทักษะที่ 4 ทักษะให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Skill ซึ่งเป็นทักษะ F)
ทักษะที่ 5 ทักษะใช้เทคโนโลยี (Technology Skill ซึ่งเป็นทักษะ T)
2.3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมการ ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการพัฒนา และขั้นตอนที่ 3 ประเมินผล
2.4 กระบวนการพัฒนาสู่การปฏิบัติ (Process) มี 3 ขั้นตอน คือ สร้างภูมิรู้ สู่การปฏิบัติ และวัดผลงาน
2.5 ผลลัพธ์ของรูปแบบ (Output) มี 3 ด้าน คือ ด้านครู ด้านผู้เรียน และด้านสถานศึกษา
2.6 เงื่อนไขของรูปแบบ
ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ที่มีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ที่มีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.76, SD = 0.46) ด้านความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.68, SD = 0.48) และด้านความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.71, SD = 0.46) แสดงว่า รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ได้
3. คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ตามรูปแบบ OLIFT Model ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ สรุปได้ดังนี้
3.1 คำชี้แจงในการใช้คู่มือ
3.2 ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้อำนวยการเรียนรู้
3.3 ตอนที่ 2 โครงสร้างหลักสูตร
3.4 ตอนที่ 3 การใช้หลักสูตร
3.5 ตอนที่ 4 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
3.6 ตอนที่ 5 การประเมินผลสัมฤทธิ์
3.7 ภาคผนวก
ซึ่งเป็นคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีคุณภาพด้านรูปแบบ เนื้อหา และการนำไปใช้ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ที่มีคุณภาพด้านรูปแบบ เนื้อหา และการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D. = 0.18) แสดงว่า คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ ตามรูปแบบ OLIFT Model ได้
4. ผลการทดลองใช้รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ที่พัฒนาได้ พบว่า หลังการใช้รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้โดยรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (μ = 4.47, σ = 0.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะที่ 1 ทักษะจัดระบบการเรียนรู้ (μ = 4.62, σ = 0.52) รองลงมา คือ ทักษะที่ 2 ทักษะจัดบรรยากาศเรียนรู้ (μ = 4.55, σ = 0.58) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะที่ 4 ทักษะให้ข้อมูลย้อนกลับ (μ = 4.29, σ = 0.62) ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวม ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ ( = 4.76, S.D. = 0.43) รองลงมา คือ ด้านการชี้แนะแนวทาง ( = 4.76, S.D. = 0.43) ด้านการใช้เทคโนโลยี ( = 4.67, S.D. = 0.51) ด้านการจัดระบบการเรียนรู้ ( = 4.62, S.D. = 0.48) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับ ( = 4.43, S.D. = 0.56) ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่โดยรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.68, σ = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมพัฒนาทักษะผู้อำนวยการเรียนรู้ (μ = 4.90, σ = 0.31) รองลงมา คือ ศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาทักษะผู้อำนวยการเรียนรู้ (μ = 4.85, σ = 0.34) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทดสอบความรู้หลังพัฒนา (Post-test) (μ = 4.40, σ = 0.50) ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะครูเพื่อเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.68, σ = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ตอนที่ 3 การใช้หลักสูตร ตอนที่ 4 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ และเนื้อหาความรู้มีความเหมาะสมตรงกับความต้องการและความจำเป็น (μ = 4.80, σ = 0.41) รองลงมา คือ ตอนที่ 5 การประเมินผลสัมฤทธิ์ (μ = 4.75, σ = 0.44)
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ / พัฒนาทักษะครู / ผู้อำนวยการเรียนรู้ / OLIFT Model