LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา

usericon

บทคัดย่อ

ชื่องานวิจัย : รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา
     โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ ด้วยกิจกรรม “PAKANG Model”
ชื่อผู้วิจัย : ภาคิญ ไชยวงค์*
ปีที่พิมพ์ : 2563

    การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนป่ากั้งวิทยา ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยใช้รูปแบบการประเมินประยุกต์ CIPPIEST Model ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ด้าน คือด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนและด้านการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการ ประชากรคือครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 376 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 279 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา 18 คน กรรมการสถานศึกษา 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน 116 คน และนักเรียน138 คน โดยใช้วิธีการประเมินเชิงปริมาณ สำหรับการประเมินเชิงปริมาณใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ของลิเคอร์ท (Likert) และ แบบตรวจสอบรายการ (Check List) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
    ผลการประเมินพบว่า การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ในปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้
    1. ด้านสภาพบริบทของโครงการ (Context)
     ฝ่ายบริหารโรงเรียน เห็นว่าโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยามีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 มีความจำเป็นต่อการแก้ปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนและการพัฒนานักเรียน มีความพร้อมที่เป็นไปได้ที่จะดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมและสถานการณ์ปัจจุบัน
    2. ด้านปัจจัยนำเข้าการดำเนินโครงการ (Input)
     ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัย การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ตามหลักการใช้ทรัพยากรในการบริหาร (4 M’s) ซึ่งเห็นว่ามีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีปัจจัยด้านบุคลากร (Man) และด้านการบริหารจัดการ (Management) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ (Materail) และด้านงบประมาณ (Money) มีความพร้อมอยู่ในระดับมาก
    3. ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process)
     ครู มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานในการจัด โครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ตามหลักการบริหารเชิงระบบ (PDCA) ด้วยกิจกรรม “ PAKANG Model ” ทั้ง 6 กิจกรรม ซึ่งเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทั้ง 6 กิจกรรม คือ กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสามัคคี กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความขยันหมั่นเพียรใฝ่เรียนรู้ กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสุภาพเรียบร้อย กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความรับผิดชอบ กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจ
และกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต โดยทุกกิจกรรมมีความเหมาะสมในการวางแผน (Plan) และการปฏิบัติ (Do) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุง (Act) อยู่ในระดับมาก
    4.    ด้านผลผลิตของโครงการ (Product)
         ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาโรงเรียนป่ากั้งวิทยาอยู่ในระดับมาก โดยที่กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความขยันหมั่นเพียรใฝ่เรียนรู้ กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสุภาพเรียบร้อย และกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเมตตากรุณามีน้ำใจ มีผลการดำเนินงานเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสามัคคี และกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความรับผิดชอบ มีผลการดำเนินงานเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และพบว่ามีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนป่ากั้งวิทยาอยู่ในระดับมากที่สุด โดย
กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความขยันหมั่นเพียรใฝ่เรียนรู้ กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสุภาพเรียบร้อย และกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเมตตากรุณามีน้ำใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต กิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความสามัคคี และกิจกรรมการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก
    5. ด้านผลกระทบของโครงการ (Impact)
     ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา เห็นว่าการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยา มีผลกระทบเชิงบวกต่อทั้งนักเรียน โรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด
    6. ด้านประสิทธิผลของโครงการ (Effectiveness)
     ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา เห็นว่าการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนป่ากั้งวิทยา ตามแนวทาง โรงเรียนวิถีพุทธ ด้วยกิจกรรม “ PAKANG Model ” อยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่มีคุณธรรมด้านความเมตตากรุณามีน้ำใจ ความซื่อสัตย์สุจริต ความสุภาพเรียบร้อย ความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อหน้าที่ การประพฤติ ปฏิบัติตนตามหลักศีลห้า และความสามัคคีในหมู่คณะอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับการมีความขยันหมั่นเพียร อยู่ในระดับมาก
    7. ด้านความยั่งยืนของโครงการ (Sustainability)
     ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา เห็นว่าการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยามีความยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเห็นว่าการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของคณะครูและบุคลากรถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ประจำวันทุกวัน การจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมมีแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และโรงเรียนมีนโยบายสนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมทุกปี อยู่ในระดับมากที่สุด แต่ประเด็นที่โรงเรียนจัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรมอย่างเพียงพอทุกปี อยู่ในระดับมาก
    8. ด้านการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการ (Transportability)
     ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษา เห็นว่าการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนป่ากั้งวิทยา มีการถ่ายทอดส่งต่ออยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่โรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายกับวัดในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน และโรงเรียนมีการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนประเด็นที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นมาศึกษาดูงานด้านคุณธรรมจริยธรรมที่โรงเรียนเป็นประจำ โรงเรียนขยายผลโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมไปยังผู้ปกครองและชุมชน และโรงเรียนขยายผลโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมไปยังสถานศึกษาอื่นๆ อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ :     การประเมินโครงการ / คุณธรรมจริยธรรม / รูปแบบ CIPPIEST Model
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^