การประเมินโครงการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนเท
บ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ชื่อผู้รายงาน นางจิณารี ชมจินดา รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน (Evaluation Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องในด้านบริบทของโครงการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อประเมินความสอดคล้องในด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี 3) เพื่อประเมินความสอดคล้องในด้านกระบวนการของโครงการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี 4) เพื่อประเมินความสอดคล้องในด้านผลผลิตของโครงการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา สังกัดเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยใช้ CIPP Model ของ สตัฟฟิลบีม (Stufflebeam) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา มีประชากร 2 คน ใช้ประชากรทั้งหมด กลุ่มครู กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางเปรียบเทียบของ เคร็ซซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้จำนวน 59 คน ซึ่งจะประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สร้างเครื่องมือและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการ สร้างแบบสอบถามตามวัตถุประสงค์ของการประเมินผล และตามกิจกรรมโครงการ นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยตรวจสอบความเหมาะสมของการใช้ภาษาในการเขียน ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถาม ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try Out) เก็บรวบรวมและนำไปวิเคราะห์ข้อมูล และนำไปใช้สอบถามจริงกับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา 2) กลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 21 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก (Simple Random Sampling) ตามรูปแบบของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) ประเมินด้านผลผลิต เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยใช้วิธีหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่างข้อคำถามกับรายการประเมิน และความถูกต้อง ทั้งด้านโครงสร้าง เนื้อหา ภาษาที่ใช้ และความเป็นปรนัย (Objectivity) นำผลการสัมภาษณ์ไปเขียนเชิงพรรณนา
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการมีกิจกรรมที่ตอบสนองความสามารถทางวิชาการ และความคิดสร้างสรรค์ ให้กับนักเรียนทุกคน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การกำหนดวัตถุประสงค์มีความชัดเจน และดำเนินการได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ หลักการที่กำหนดไว้ สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาทางวิชาการของนักเรียนได้ อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ ความเข้าใจบริหารโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูผู้สอนมีคุณสมบัติเหมาะสม มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้จนสามารถพัฒนานักเรียนได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สื่อเทคโนโลยีมีความทันสมัย อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการนำผลการประเมินโครงการมาใช้ในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การวางแผนดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การเสริมความรู้ การฝึกทักษะให้กับนักเรียน ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบ สร้างผลงาน และนวัตกรรมได้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนรู้จักทักษะการทำงานเป็นทีม และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนได้แสดงออก กล้าคิด กล้าทำอย่างสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก