การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้า
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต
เทศบาลนครนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : นางอัญชิษฐา บุญสนอง
ประเภทผลงานวิชาการ : ผลงานวิจัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward
Design) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะในการวิจัยดังนี้
1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพชุดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง
วงจรไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบย้อนกลับ (Backward Design) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงจรไฟฟ้า สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบย้อนกลับ (Backward Design) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องวงจรไฟฟ้า
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วงจรไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสม
ของชุดกิจกรรม แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน เพื่อหา
ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม ตามเกณฑ์ 80/80 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง
วงจรไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียน
เทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้า สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ
การทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับ(Backward Design) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) และ
ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมาก และมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.33/84.67 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้า สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก