การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) และการ
จัดการเรียนรู้แบบซิปปา (Cippa Model)
ผู้วิจัย : นางอัญชิษฐา บุญสนอง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับ
การจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) และการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (Cippa Model)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 2 ห้องเรียน แล้วสุ่มอย่างง่ายอีกครั้งหนึ่ง โดยวิธีจับฉลากเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ดำเนินการจัดการเรียนรู้ แบบย้อนกลับ และกลุ่มทดลองที่ 2 ดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองกลุ่มละ 12 คาบ ๆ ละ 60 นาที
โดยใช้แผนแบบการวิจัย Nonrandomized control group pretest-posttest design เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ
4 ตัวเลือก และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ แบบปรนัยชนิด
เลือกตอบ 4 ตัวเลือก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติแบบ t-test Dependent Samples และ t-test for Independent Sample ในรูป Difference Score
สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
1. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบย้อนกลับ กับนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบซิปปา
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบย้อนกลับ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบซิปปา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
4. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบย้อนกลับ กับนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบซิปปา
มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
5. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบย้อนกลับ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียน และหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
6. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบซิปปา มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01