การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์ เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์ เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดพรหมวิหาร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 34 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย แบบประเมินทักษะการปฏิบัติท่ารำ ท่วงท่าลีลาไทย และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน โดยดำเนินการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย และแผนการจัดการเรียนรู้ และสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ตามขั้นตอนวิธีการสร้างทุกขั้นตอนแล้วได้นำนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการ การวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล โดยการสร้างฉบับร่างและนำไปใช้กับกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง (Sample) เพื่อวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบ ได้แก่ วิเคราะห์หาคุณภาพค่าระดับความยากของแบบทดสอบ (p) วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ (r) และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับโดยใช้สูตร KR – 20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ศึกษา ได้แก่ วิเคราะห์หาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์ เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และความพึงพอใจของผู้เรียนภายหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์ เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย
ผลจากการศึกษา พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์ เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.01/94.90
2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย
มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 91.17
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์ เรื่อง ท่วงท่าลีลาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4 .82)