LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567

การส่งเสริมความรู้สึกเชิงปริภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

usericon

ชื่อเรื่อง    การส่งเสริมความรู้สึกเชิงปริภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สื่อประสม โรงเรียนบ้านแม่แดดน้อย
อ.กัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย     นายกัมปนาท อุดมธนวานิช
ปีที่วิจัย    2562
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้สึกเชิงปริภูมิ โดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่แดดน้อย อ.กัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 14 คน โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1). แผนการจัดการเรียนรู้ 2). แบบวัดความรู้สึกเชิงปริภูมิ 3). แบบบันทึกการตรวจใบงาน และ 4). แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์เนื้อหาสาระคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อสร้างแผนการจัดการ เรียนรู้ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ (7 คาบ) โดยเน้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้สึกเชิงปริภูมิ โดยใช้สื่อประสม ได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ สื่อของจริง และสื่อรูปภาพสองมิติ จากนั้นผู้วิจัยนำเครื่องมือการศึกษาที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านตรวจสอบ โดยผู้วิจัยดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญแล้วจึงนำเครื่องมือการศึกษาไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ผู้ศึกษาดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
    ผลการศึกษาสรุปได้ว่าหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติโดยใช้สื่อประสมสามารถส่งเสริมความรู้สึกเชิงปริภูมิของนักเรียนได้ ซึ่งพบว่าจำนวนนักเรียนที่มีความรู้สึกเชิงปริภูมิในภาพรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 82.03 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านความคงตัวในการรับรู้ในระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 79.63 ด้านการรับรู้ถึงความสัมพันธ์เชิงปริภูมิในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 79.63 และด้านการรับรู้เกี่ยวกับตำแหน่งในมิติในระดับดีมากคิดเป็นร้อยละ 66.67
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^