LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต นักเรียน กิจกรรม6อ 3ส

usericon

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต
นักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”
โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562
บทสรุป
     รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินรูปแบบซิปป์ ( CIPP Model ) ประเมิน บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ประกอบด้วย คุณภาพการดำเนินงาน โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ. 3ส.” โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ สภาวะสุขภาพอนามัยของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ทันตกรรม สถิติการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ สมรรถภาพทางกายของนักเรียน พฤติกรรมด้านสุขภาพของครูในการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และ เป็นแบบอย่างได้ ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ. 3ส.”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561 - 2562
        กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย 1 ) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 171 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 188 คน 2) ประชากรครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 23 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนปีการศึกษา 2561 จำนวน 171 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 188 คน และ 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิน จำนวน 8 ฉบับ มี 2 ลักษณะคือ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยมีค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ตั้งแต่ .83-.90 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน



ผลการประเมินพบว่า
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละด้านดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการประเมินด้านบริบท โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความเห็นของคณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประเด็นตัวชี้วัดทั้งสี่ด้าน ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.49 , S.D. = 0.53) ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.24 , S.D. = 0.56) และเมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดพบว่าความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.37 , S.D. = 0.39) รองลงมา ความเป็นไปได้ของโครงการมีความเหมาะสมที่ระดับมาก ( = 4.25 , S.D. = 0.69) ส่วนค่าความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีความเหเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.11 , S.D. = 0.53) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
     ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.73 , S.D. = 0.49) และเมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดพบว่า ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
ค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.84 , S.D. = 0.52)รองลงมา ความเป็นไปได้ของโครงการมีความเหมาะสมที่ระดับมากที่สุด ( = 4.73 , S.D. = 0.34) ส่วนความต้องการ/จำเป็น
ในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมที่ระดับมากที่สุด ( = 4.64 , S.D. = 0.65) ) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัดทั้ง 5 ด้านค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมากที่สุด (= 4.55 ,  = 0.53) ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก (= 4.40 ,  = 0.55) และเมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดพบว่า ความเพียงพอของงบประมาณ ความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก(= 4.50 ,  = 0.66) รองลงมาความเหมาะสมของการบริหารจัดการ อยู่ที่ระดับมาก (= 4.42 ,  = 0.41) ส่วนหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก (= 4.34 ,  = 0.62) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมากที่สุด (= 4.70 ,  = 0.46)และเมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดพบว่า วัสดุอุปกรณ์ และอาคารสถานที่ อยู่ที่ระดับมากที่สุด (= 4.78 ,  = 0.72) รองลงมาหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการอยู่ที่ระดับมากที่สุด (= 4.75 ,  = 0.53)มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก และเมื่อพิจารณารายกลุ่มพบว่า ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความเหมาะสมอยูที่ระดับมาก ( = 4.19 , S.D. = 0.42) รองลงมาคือนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.10 , S.D. = 0.43) และครู มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมาก(= 4.07 ,  = 0.41) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้คะแนน 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    ปีการศึกษา 2562โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายกลุ่มพบว่า นักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความเหมาะสมอยูที่ระดับมากที่สุด ( = 4.68 , S.D. = 0.36) รองลงมาคือ ครู มีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมากที่สุด (= 4.66 ,  = 0.35) ส่วนผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ที่ระดับมากที่สุด( = 4.65 , S.D. = 0.38) ) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้คะแนน 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 ได้คะแนน 60 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์พบว่า ผ่าเกณฑ์การประเมิน จำแนกผลการประเมินดังนี้
        4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน
         ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ที่ระดับมาก และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่านักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคุณภาพอยู่ที่ระดับมาก( = 4.15 , S.D. = 0.39) รองลงมาคือครูมีคุณภาพอยู่ที่ระดับมาก (= 4.06 ,  = 0.38) ส่วนผู้ปกครองมีคุณภาพอยู่ที่ระดับมาก( = 3.99 , S.D. = 0.41)มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้คะแนน 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน



     ปีการศึกษา 2562โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ที่ระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานค่าเฉลี่ยสูงสุดคุณภาพอยู่ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.71 , S.D. = 0.47)รองลงมาคือ ครูมีคุณภาพอยู่ที่ระดับมากที่สุด (= 4.68 ,  = 0.40) ส่วนผู้ปกครองมีคุณภาระดับมาดที่สุด
( = 4.59 , S.D. = 0.46) ค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้คะแนน 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
     4.2 ผลการประเมินตามสภาพจริงด้านผลผลิตเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ทันตกรรม สถิติการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุของนักเรียนโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ หลังการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า
     ปีการศึกษา 2561โดยภาพรวมสภาวะสุขภาพอนามัยของนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ
97.06 มีคุณภาพในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาสภาวะสุขภาพแต่ละด้านพบว่า ด้านส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ค่อนข้างสูง และด้านปัญหาสถิติการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดร้อยละ 98.04 อู่ในระดับดีมาก รองลงมาได้แก่ ด้านน้ำหนักตามเกณฑ์ ค่อนข้างมาก-มาก และไม่มีปัญหาทางทันต
กรรมร้อยละ 97.73 และ97.39 อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านน้ำหนักตามเกณฑ์สมส่วน ร้อยละต่ำสุด 977.77 อยู่ในระดับดีมาก เช่นกัน
     ปีการศึกษา 2562โดยภาพรวมสภาวะสุขภาพอนามัยของนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ
97.81 มีคุณภาพในระดับดีมากมาก และเมื่อพิจารณาสภาวะสุขภาพแต่ละด้านพบว่าด้านส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ค่อนข้างสูง-สูง ด้านน้ำหนักตามเกณฑ์ และด้านปัญหาสถิติการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ
มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 98.63 , 98.91 และ 98.36 ตามลำดับอยู่ในระดับดีมาก รองลงมาได้แก่ ด้านไม่มีปัญหาทางทันตกรรม และไม่มีปัญหาโภชนาการ ร้อยละ 97.81 และร้อยละ 97.27 อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านน้ำหนักตามเกณฑ์สมส่วน มีค่าเฉลี่ต่ำสุด ร้อยละ 96.81อยู่ในระดับดีมาก เช่นกัน
     4.3 ผลการประเมินตามสภาพจริงด้านผลผลิตเกี่ยวกับเกี่ยวกับสมรรถภาพทางกาย ของนักเรียน ได้แก่ วิ่งระยะไกล ยืนกระโดดสูง ลุกนั่ง60 วินาที ดันพื้น 30 วินาทีและนั่งงอตัวไปข้างหน้า หลังการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า
     ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 87.71 และเมื่อพิจารณาสมรรถภาพทางกายแต่ละรายการพบว่า นักเรียนยืนกระโดดไกล ผ่านเกณฑ์สูงสุด ร้อยละ88.56 รองลงมาได้แก่ ลุกนั่ง 60 วินาที และนั่งงอตัวไปข้างหน้า ตามลำดับ
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 87.91 และ 87.26 ส่วนวิ่งทางไกลผ่านเกณฑ์ร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 86.93
ปีการศึกษา 2562โดยภาพรวมสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 93.93 และเมื่อพิจารณาสมรรถภาพทางกายแต่ละรายการพบว่านักเรียนยืนกระโดดไกล ผ่านเกณฑ์สูงสุด ร้อยละ 95.36 รองลงมาได้แก่ ดันพื้น 30 วินาที ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 94.26 ส่วนนั่งงอตัวไปข้างหน้า ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ต่ำสุด ร้อยละ 93 .17
    4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจ ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561-2562 ตามความเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.35 , S.D. = 0.45) ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.06 , S.D. = 0.44) และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานค่าเฉลี่ยสูงสุดความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.09 , S.D. = 0.56) รองลงมาคือ นักเรียน ความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ( = 4.08 , S.D. = 0.38) ส่วนครูความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก ที่สุด (= 4.00 , = 0.42)
มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.46 , S.D. = 0.46)และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ครู ค่าเฉลี่ยสูงสุด ความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากที่สุด
(= 4.67 , = 0.46) ส่วนผู้ปกครองมีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมากที่สุด ( = 4.60 , S.D. = 0.47)มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ

    1.ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการประเมินไปใช้

        1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย รวมทั้งความสำเร็จและอุปสรรค เทียบเคียง เพื่อปรับปรุงพัฒนา กิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส” ที่กำลังดำเนินอยู่ให้เกิดตามจุดมุ่งหมายของโรงเรียน
        1.2 ผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้รับผิดชอบควรนำกิจกรรมสร้างสรรค์ “6อ 3ส”    
ประยุกต์ใช้ โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทหรือสภาพแวดล้อมแต่ละโรงเรียน เพื่อศึกษาผลกระทบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน




        1.3 ควรนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาฝ่ายต่างๆของโรงเรียน เพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาต่อไป
        1.4 ครูที่ปรึกษาควรสร้างความเข้าใจอันดี มีความเป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียนและผู้ปกครอง มีเวลาพบปะพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้

    2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน / วิจัยครั้งต่อไป

        2.1 ควรมีการประเมินโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์ โมเดล (CIPP Model ) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการ และประสิทธิผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
        2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสภาวะสุขภาพนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 16 หรือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^