การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
ของโรงเรียนชัยนาทพิทยาคม
ผู้วิจัย นางสาวขวัญใจ แก้วรัตน์
ปีที่วิจัย ปี พ.ศ.2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
ตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนชัยนาทพิทยาคม 2) เพื่อนำผลการศึกษาไปสร้างรูปแบบการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในระยะต่อไป ขอบเขตของการศึกษาเป็นไปตามแนวทางการการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ (Quality System Management) 2) ด้านการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World-Class Standard) และ 3) ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผู้เรียนและผู้ปกครองผู้เรียนของโรงเรียนชัยนาทพิทยาคม กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น จำนวน 5 ฉบับ แบบสอบถามแต่ละฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 เป็นแบบสำรวจรายการ (Checklist) สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพ ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท (Likert Rating Scale) สอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากล หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) โดยหาค่าสัมประสิทธิอัลฟาของครอนบาค (Cronbach) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนชัยนาทพิทยาคม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย 3.90 ( = 3.90, S.D= 0.78 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน
1. ด้านการพัฒนาด้านการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.95 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อ (2) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.09 และ ข้อ (4) การสร้างและพัฒนาเครือข่ายร่วมพัฒนามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.82
2. ด้านการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.85 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อ (3) การวิจัยและพัฒนามีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.89 และข้อ (2) การพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.82
3. ด้านการพัฒนาด้านคุณลักษณะผู้เรียน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.90 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อ (3) ล้ำหน้าทางความคิด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.97 และข้อ (2) สื่อสารสองภาษา ค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.83