รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้
เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
โรงเรียนบ้านมะเขือแจ้
ผู้รายงาน จิรดา ตาให้
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมะเขือแจ้ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้ และ 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของความก้าวหน้าทางความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จากการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมะเขือแจ้ จำนวน 36 ชุด แผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมะเขือแจ้ จำนวน 36 แผน และแบบประเมินพัฒนาการความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมะเขือแจ้ จำนวน 4 ชุด ดำเนินการทดลองโดยทำการประเมินผลการพัฒนาการด้านมิติสัมพันธ์ก่อนการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้ (Pretest) ด้วยแบบประเมินพัฒนาการ จำนวน 4 ชุด จากนั้นดำเนินการทดลองใช้แผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้ จำนวน 36 แผน และทำการประเมินผลการพัฒนาการด้านมิติสัมพันธ์หลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้ (Posttest) ด้วยแบบประเมินพัฒนาการ จำนวน 4 ชุด นำผลการประเมินก่อน ระหว่าง และหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมะเขือแจ้ ในภาพรวม มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.18/82.89 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเหมือนความต่าง มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.85/84.21 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.48/85.26 ด้านการแยกออกจากกัน มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.48/81.58 และด้านความสัมพันธ์ของตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.90/80.53 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน
2. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์หลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้ ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยในภาพรวมสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ร้อยละ 31.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเหมือนความต่าง สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ร้อยละ 33.68 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ร้อยละ 32.11 ด้านการแยกออกจากกัน สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ร้อยละ 28.95 และด้านความสัมพันธ์ของตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ร้อยละ 29.47
3. ดัชนีประสิทธิผลของความก้าวหน้าทางความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จากการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์โดยใช้พืชผักผลไม้ มีค่าสูงกว่า 0.6000 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความก้าวหน้าทางความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในภาพรวม เพิ่มขึ้น 0.6448 หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเหมือน ความต่าง เพิ่มขึ้น 0.6809 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.09 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน เพิ่มขึ้น 0.6854 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.54 ด้านการแยกออกจากกัน เพิ่มขึ้น 0.6111 หรือคิดเป็นร้อยละ 61.11 และด้านความสัมพันธ์ของตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้น 0.6022 หรือคิดเป็น
ร้อยละ 60.22