การบริหารยุคใหม่ H2P Model สู่ความสำเร็จ
ประเภทนวัตกรรม การบริหารและจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
ผู้เสนอผลงานนวัตกรรม นายวิมลชัย สิลารักษ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเฟื่องฟ้า สุขเจริญ
นางสาวสมพร หงษ์ยิ้ม
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านดงซ่อม อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
ความเป็นมาและความสำคัญ
สถานการณ์ของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ทุกประเทศจำเป็นต้องปฏิรูประบบบริหาร ราชการและเปิดโอกาสให้ประชาชนและองค์กรต่างๆ มีบทบาทในการตรวจสอบติดตามผลการดำเนินงานของ ภาครัฐให้ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส ภาครัฐจึงต้อง ปรับเปลี่ยนการทำงานปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้ การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2553, หน้า 5) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 (2546, หน้า 25-26) กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาใน 4 ด้าน คือ (1) ด้านวิชาการ (2) ด้านงบประมาณ (3) ด้านการ บริหารงานบุคคล และ (4) ด้านการบริหารงานทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาโดยตรง กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดกรอบการบริหารงานบุคคลไว้ดังนี้ การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาเป็นภารกิจสำคัญที่มุ่งส่งเสริมให้ สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองภารกิจของ สถานศึกษาเพื่อดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคลให้ เกิดความคล่องตัว อิสระภายใต้กฎหมาย ระเบียบ เป็นไป ตามหลักธรรมาภิบาลข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาได้รับการพัฒนา มีความรู้ ความสามารถ มีขวัญ กำลังใจ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ มีความมั่นคงและ ก้าวหน้าในวิชาชีพ ซึ่งจะส่งผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของผู้เรียนเป็นสำคัญโดยผู้บริหารโรงเรียนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานต้องดำเนินการในภารกิจหลักคือ การวางแผน อัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งการสรรหาและการบรรจุ แต่งตั้งการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย และการออกจากราชการ แต่งานบริหารบุคคลเป็นงานที่ยุ่งยากและซับซ้อน เพราะต้อง ทำงานเกี่ยวข้องกับคนซึ่งมีความรู้ความสามารถตลอดจนมี ความสำนึกแตกต่างกัน และที่สำคัญ คนเป็นสิ่งที่มีชีวิต จิตใจ มีอารมณ์ ผู้บริหารจึงต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ ในการบริหารบุคคล ซึ่งปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการ วางแผนการบริหารบุคคล ปัญหาการสรรหาและการแต่งตั้ง บุคคลปัญหาการพัฒนาบุคคล ปัญหาการประเมินผล การปฏิบัติงาน ปัญหาการให้บุคคลพ้นจากงานและปัญหา การควบคุม กำกับ ติดตาม และนิเทศบุคคล (สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2554, หน้า 50) การบริหารงานบุคคลเป็นระบบการปฏิบัติการ เกี่ยวกับบุคลากรในองค์กร นับตั้งแต่การสรรหาคนเข้ามาทำงาน การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การโอน การย้าย การฝึกอบรมการพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง ตลอดจนการบังคับบัญชาเพื่อที่จะได้บุคคลที่มี ความรู้ความสามารถ และใช้บุคคลนั้นให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรในด้านประสิทธิภาพของงานและผลงานมากที่สุด ใน การบริหารงานใด ๆ ก็ตาม ย่อมเกิดจากตัวบุคคลเป็นส่วนสำคัญทั้งนี้เพราะตามหลักการบริหารงานทั่วไปนั้น แม้ว่า จะมีงบประมาณให้อย่างเพียงพอมีการจัดองค์การ และ การบริหารงานที่ดี มีอุปกรณ์ และวัสดุต่างๆ พร้อมถ้าหากผู้ปฏิบัติงานไม่ดี ไม่มีความรู้ความสามารถขาดความ ซื่อสัตย์สุจริต และไม่ประพฤติอยู่ในระเบียบวินัยอันดีแล้ว นับเป็นการยากที่การบริหารงานจะบรรลุผลตามความมุ่งหมาย
กล่าวโดยสรุปการบริหารงานบุคคลเป็นหัวใจของการ บริหาร ไม่ว่าจะเป็นการบริหารหน่วยงาน
ประเภทใด ถ้าการบริหารงานบุคคลบกพร่อง หน่วยงานนั้นๆ จะเจริญก้าวหน้าได้ โดยยากเพราะงานทุกชนิด
จะได้ผลดี หรือผลเสียก็อยู่ที่บุคคลที่รับงานไปทำ ถ้าบุคคลที่รับงานไปทำขาดขวัญกำลังใจหย่อนสมรรถภาพงานมักจะบกพร่องหรือขาดประสิทธิภาพ สถานศึกษาจะต้องเป็นทั้งผู้อํานวยการ นักจัดการศึกษา และเป็นผู้นํา การที่โรงเรียนจะจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ได้นั้นถือว่าความสามารถของผู้บริหารโรงเรียนเป็นสิ่งสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้บริหารเปรียบเสมือน หัวใจของโรงเรียน เป็นผู้ส่งเสริมความก้าวหน้าของการเรียนการสอนเป็นผู้จัดการให้งานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบงานของโรงเรียนตั้งแต่งานสูงสุดลงมาถึงงานต่ำสุด การบริหารการศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญ และมีความจำเป็นต่อการจัดการศึกษาอันจะส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาจะดีได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของการจัดการของผู้บริหารที่จะเข้าใจในหลักการ
และทฤษฎีทางการบริหารสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินงานบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามบริบทของโรงเรียนบ้านดงซ่อมเพื่อให้เกิดคุณภาพในการบริหารจัดการได้ดำเนินการบริหารจัดการผ่านโครงสร้างการบริหารงาน 4 ฝ่าย อย่างเป็นระบบโดยยึดหลัก “H2P Model สู่ความสำเร็จ” และทำให้ผู้ร่วมงานมีความสุขกับงาน ตามพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า“สุขา สังฆัสสะ สามัคคี” (ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำความสุขมาให้) ภายใต้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง ของโรงเรียนบ้านดงซ่อม มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
H Harmonious สามัคคี คือ สร้างความสามัคคีให้เกิดกับองค์กรเพื่อความร่วมมือในการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ อย่างมีความสุข ตามหลักการทรงงานในข้อ 23 ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานให้ไว้เป็นแบบอย่าง คือรู้รักสามัคคี การลงมือปฏิบัติงานใดๆควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ต้องร่วมมือร่วมใจกันเป็นองค์กรเป็นหมู่คณะจึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงได้ด้วยด็
P ที่ 1 Participate ส่วนร่วม คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ เอกชน บ้าน วัด โรงเรียน เพื่อให้มีส่วนร่วมและพัฒนาด้วยกันจะทำให้การพัฒนาในด้านต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
P ที่ 2 Promote ส่งเสริม คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอเป็นครู
มืออาชีพสามารถพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในทุกๆด้านตามศักยภาพของแต่ละคนและพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศในด้านต่างๆ สร้างความเคารพนับถือ ความศรัทธาต่อสังคม
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยผ่านโครงสร้างการบริหารงาน 4 ฝ่ายใช้นวัตกรรม “การบริหารยุคใหม่ H2P Model สู่ความสำเร็จ” (สร้างความสามัคคี การมีส่วนร่วม และการส่งเสริม)
2.2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สู่การเป็นครูมืออาชีพและสามารถพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในทุก ๆ ด้านตามศักยภาพ
2.๓ เพื่อให้โรงเรียนได้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ เอกชน โดยมีพื้นฐานจากบ้าน วัด สู่โรงเรียน
2.๔ เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสามัคคีในการทำงาน มีความสุขกับงาน
กลุ่มเป้าหมาย
เชิงปริมาณ
- ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 19 คน
เชิงคุณภาพ
1. สามารถบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยผ่านโครงสร้างการบริหารงาน 4 ฝ่ายใช้นวัตกรรม “การบริหารยุคใหม่ H2P Model สู่ความสำเร็จ” (สร้างความสามัคคี การมีส่วนร่วม
และการส่งเสริม) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 100
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สู่การเป็นครูมืออาชีพและสามารถพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในทุก ๆ ด้านตามศักยภาพ ร้อยละ 100
๓. โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน
๔. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสามัคคีในการทำงาน มีความสุขกับงาน
กระบวนการพัฒนานวัตกรรม
สภาพก่อนการพัฒนา
การวิเคราะห์สภาพปัญหาของสถานศึกษา
จากสภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ผ่านมา พบปัญหา อุปสรรค ที่ได้จากการศึกษาข้อมูล จากเอกสาร และ บุคลากร สรุปเป็นประเด็นสำคัญดังนี้
ด้านการบริหารจัดการ
๑. สถานศึกษายังขาดระบบการบริหารจัดการองค์กรที่เชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่มงาน ขาดความ เป็นเอกภาพ
๒. สถานศึกษายังขาดระบบการบริหารจัดการด้านเอกสารและสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและ พร้อมใช้งาน
๓. สถานศึกษายังขาดการประชาสัมพันธ์ในสื่อต่าง ๆ และสื่อสังคมออนไลน์ให้กับต้นสังกัด ภาคี เครือข่าย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้รับทราบ
ด้านบุคลากร
๑. บุคลากรยังขาดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงาน
๒. บุคลากรยังขาดการประสานงานในการปฏิบัติงานที่ดีร่วมกัน
๓. บุคลากรยังขาดทิศทางในการทำงานและการวางเป้าหมายในความสำเร็จ
การออกแบบนวัตกรรมและขั้นตอนเพื่อการพัฒนา
จากการศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการของสถานศึกษา จึงได้จัดทำกรอบแนวคิดในการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้ใช้หลักทฤษฎีและหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง และนำวงจรคุณภาพ PDCA ของเดมมิ่ง (Deming Cycle) มาใช้ในการดำเนินการทั้งการขับเคลื่อนในภาพรวมและการ ขับเคลื่อนรูปแบบนวัตกรรม “การบริหารยุคใหม่ H2P Model สู่ความสำเร็จ” ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 วางแผน (Plan)
๑.๑) ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการน้อมนำศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน อันได้แก่
เข้าใจ คือ การเข้าถึงข้อมูลพื้นฐาน ด้วยการศึกษาข้อมูลของทุกมิติ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น
เข้าถึง คือ การสร้างการมีส่วนร่วมกับบุคลากร ในการวิเคราะห์ปัญหา และความต้องการมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนา
พัฒนา คือ การร่วมมือร่วมใจกันลงมือทำโดยใช้องค์ความรู้ และทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนา ติดตามสนับสนุนประเมินผลให้งานบรรลุตามเป้าหมาย
๑.๒) ศึกษา วิเคราะห์ ยุทธศาสตร์ นโยบายที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและนำมาจัดทำเป็นแผนพัฒนาของโรงเรียนเพื่อให้มีความสอดคล้องของงานตามภารกิจ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารบุคคล และด้านบริหารทั่วไป
1.3) แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการ และประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทบทวน ความต้องการ ทิศทางการพัฒนาการศึกษากำหนดจุดเน้นและเป้าหมายการพัฒนาของโรงเรียนบ้านดงซ่อม
1.4) ประชุมชี้แจงคณะครูให้ดำเนินการจัดทำโครงการ กิจกรรม ให้สอดคล้องกับจุดเน้นและเป้าหมายการพัฒนา
1.5) จัดทำร่างแผนปฏิบัติการประจำปี
1.6) นำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ความเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการประจำปี
ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการ (Do)
๒.๑) สร้างนวัตกรรม “การบริหารยุคใหม่ H2P Model สู่ความสำเร็จ” จากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรในการปฏิบัติงาน และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
การดำเนินงานบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามบริบทของโรงเรียนบ้านดงซ่อมเพื่อให้เกิดคุณภาพในการบริหารจัดการได้ดำเนินการบริหารจัดการผ่านโครงสร้างการบริหารงาน 4 ฝ่าย อย่างเป็นระบบโดยยึดหลัก “การบริหารยุคใหม่ H2P Model สู่ความสำเร็จ” และทำให้ผู้ร่วมงานมีความสุขกับงาน ตามพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า“สุขา สังฆัสสะ สามัคคี” (ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำความสุขมาให้) ภายใต้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง ของโรงเรียนบ้านดงซ่อม มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
H (Harmonious) สามัคคี คือ สร้างความสามัคคีให้เกิดกับองค์กรเพื่อความร่วมมือในการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ อย่างมีความสุข ตามหลักการทรงงานในข้อ 23 ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานให้ไว้เป็นแบบอย่าง คือรู้รักสามัคคี การลงมือปฏิบัติงานใดๆควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ต้องร่วมมือร่วมใจกันเป็นองค์กรเป็นหมู่คณะจึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงได้ด้วยดี
P (Promote) ที่ 1 ส่วนร่วม คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน โดยการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ เอกชน บ้าน วัด โรงเรียน เพื่อให้มีส่วนร่วมและพัฒนาด้วยกันจะทำให้การพัฒนาในด้านต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
P (Participate) ที่ 2 ส่งเสริม คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอเป็นครูมืออาชีพสามารถพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในทุก ๆ ด้านตามศักยภาพของแต่ละคนและพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ สร้างความเคารพนับถือ ความศรัทธาต่อสังคม
1. ประชุมชี้แจงและแจ้งแผนปฏิบัติการประจำปี ให้คุณครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกท่านทราบ
2. มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ เพื่อกำกับ ติดตามประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน โดยลดขั้นตอนการดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน
3. ทดลองใช้รูปแบบการบริหารยุคใหม่ H2P Model สู่ความสำเร็จ” ในโรงเรียน โดยจัดกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่ ๑ สร้างขวัญ กำลังใจและยกย่องเชิดชูเกียรติ
ชื่อกิจกรรม สร้างขวัญ กำลังใจและยกย่องเชิดชูเกียรติ
ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารงานบุคคล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีต่อกันของบุคลากร
2. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้กับครูที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น และเพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครู กลุ่มเป้าหมาย ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านดงซ่อม
ขั้นตอนการดำเนินงาน (พิจารณาตามวงจรคุณภาพ PDCA)
ที่ กิจกรรม/ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
๑ วางแผนการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน พ.ค. 2563 งานบุคลากร
๒ ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ พ.ค. 2563 – เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
๓ ประเมินผลการดำเนินงาน เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
๔ นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาในครั้งต่อไป เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
ระดับความสำเร็จ
ตัวชี้วัด วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ร้อยละ 90 มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ใน ระดับดีขึ้นไป และมีความสามัคคี ความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สอบถามความพึงพอใจของผู้ร่วม กิจกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ ร่วมกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญและกำลังใจที่ดี มีความรัก สามัคคี มีความสัมพันธ์ อันดีต่อกัน
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นหรือได้รับการเลื่อนวิทยฐานะ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในโรงเรียน
กิจกรรมที่ ๒ พัฒนาครูด้านวิชาการ
ชื่อกิจกรรม พัฒนาครูด้านวิชาการ
ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารงานบุคคล
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาตนเองด้านวิชาการ
ขั้นตอนการดำเนินงาน (พิจารณาตามวงจรคุณภาพ PDCA)
ที่ กิจกรรม/ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
๑ วางแผนการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน พ.ค. 2563 งานบุคลากร
๒ ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ พ.ค. 2563 – เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
๓ ประเมินผลการดำเนินงาน เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
๔ นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาในครั้งต่อไป เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
ระดับความสำเร็จ
ตัวชี้วัด วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ร้อยละ 90 ใน ระดับดีขึ้นไป ได้เข้ารับการ อบรม พัฒนาทางวิชาการ สอบถามความพึงพอใจของผู้ร่วม กิจกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ ร่วมกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาตนเองด้านวิชาการ
กิจกรรมที่ ๓ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
ชื่อกิจกรรม พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารงานบุคคล
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
ขั้นตอนการดำเนินงาน (พิจารณาตามวงจรคุณภาพ PDCA)
ที่ กิจกรรม/ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
๑ วางแผนการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน พ.ค. 2563 งานบุคลากร
๒ ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ พ.ค. 2563 – เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
๓ ประเมินผลการดำเนินงาน เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
๔ นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาในครั้งต่อไป เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
ระดับความสำเร็จ
ตัวชี้วัด วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ร้อยละ 90 ใน ระดับดีขึ้นไป ได้เข้ารับการอบรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม สอบถามความพึงพอใจของผู้ร่วม กิจกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ ร่วมกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
กิจกรรมที่ ๔ ศึกษาดูงาน
ชื่อกิจกรรม ศึกษาดูงาน
ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารงานบุคคล
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน มาใช้เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ
ขั้นตอนการดำเนินงาน (พิจารณาตามวงจรคุณภาพ PDCA)
ที่ กิจกรรม/ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
๑ วางแผนการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน พ.ค. 2563 งานบุคลากร
๒ ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ พ.ค. 2563 – เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
๓ ประเมินผลการดำเนินงาน เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
๔ นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาในครั้งต่อไป เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
ระดับความสำเร็จ
ตัวชี้วัด วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ร้อยละ 90 ได้เข้ารับการ อบรม สัมมนาและศึกษาดูงาน อย่างน้อย ๔0 ชั่วโมงต่อปี สำรวจความต้องการการเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน แบบสำรวจการเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน มาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ๕ สร้างสัมพันธภาพ บ้าน วัด โรงเรียน
ชื่อกิจกรรม สร้างสัมพันธภาพ บ้าน วัด โรงเรียน
ผู้รับผิดชอบ กลุ่มบริหารงานบุคคล
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน
ขั้นตอนการดำเนินงาน (พิจารณาตามวงจรคุณภาพ PDCA)
ที่ กิจกรรม/ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
๑ วางแผนการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน พ.ค. 2563 งานบุคลากร
๒ ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ พ.ค. 2563 – เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
๓ ประเมินผลการดำเนินงาน เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
๔ นำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาในครั้งต่อไป เม.ย.๒๕๖๓ งานบุคลากร
ระดับความสำเร็จ
ตัวชี้วัด วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ร้อยละ 90 ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน สอบถามความพึงพอใจของผู้ร่วม กิจกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ ร่วมกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมกับทางวัด และชุมชน เช่นวันสำคัญทางศาสนา งานพิธีต่างๆ การเชิญวิทยากรภายนอกฝึกทักษะอาชีพให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา
ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบ (C - Check )
1. กำกับ นิเทศ ติดตามการดำเนินงาน ตามปฏิทินที่กำหนดเพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคและรวบรวมข้อมูลอื่น เพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
2. สรุปรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาและรายงานผลการปฏิบัติงาน รอบ 6,9,12 เดือน ตามแบบติดตามประเมินผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และรายงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-MES) ของสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุง (A - Act)
นำผลการดำเนินงานมาเป็นข้อมูลเพื่อการปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงานที่ส่งผล
ต่อคุณภาพการจัดการศึกษาในปีการศึกษาถัดไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยผ่านโครงสร้างการบริหารงาน 4 ฝ่ายใช้นวัตกรรม “การบริหารยุคใหม่ H2P Model สู่ความสำเร็จ” (สร้างความสามัคคี การมีส่วนร่วม และการส่งเสริม) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 100
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สู่การเป็นครูมืออาชีพและสามารถพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในทุก ๆ ด้านตามศักยภาพ ร้อยละ 100
๓. โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน
๔. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสามัคคีในการทำงาน มีความสุขกับงาน
สรุปสิ่งที่เรียนรู้
๑. การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของบุคลากรในการปฏิบัติงานเชิงลึกที่ถูกต้อง และนำมาวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ให้ทุกคนกล้าแสดงออก ทางความคิด และการปฏิบัติ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ สามารถทำให้การปฏิบัติงานของ บุคลากรมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
๒. เจตคติที่ดีและความศรัทธาในวิชาชีพ มีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ บุคลากรให้ประสบความสำเร็จ
๓. องค์กรนักศึกษาที่เข้มแข็งมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมของ บุคลากร รวมถึงสถานศึกษา ให้ประสบความสำเร็จ
จุดเด่นหรือลักษณะพิเศษของนวัตกรรม
๑. เป็นนวัตกรรมที่สังเคราะห์ขึ้น โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ มาประยุกต์เข้ากับชื่อของผู้คิดนวัตกรรมจึงทำให้เป็นเอกลักษณ์
๒. นวัตกรรมมุ่งในการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจ ความเชื่อมั่น เจตคติและความศรัทธาในวิชาชีพ จึงทำให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ