การพัฒนารูปแบบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอัน
ประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม
ผู้รับผิดชอบ นางสาวศิรินันท์ ยอดฉิมมา
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ
1.เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพการบิหารตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม
2.เพื่อพัฒนา รูปแบบการบริหาร ตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม
3.เพื่อศึกษาผลการใช้การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม
4.เพื่อประเมินผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม
5.เพื่อขยายผลสร้างเครือข่ายการใช้ การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม
ผลการวิจัยทั้ง 5 ขั้นตอน จะเห็นว่ากระบวนการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม นั้น เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 ได้กล่าวเกี่ยวกับองค์ประกอบของธรรมาภิบาลไว้ดังนี้ คือ 1) หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรวจตรากฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัย และเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมนิยมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล 2) หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามโดยรณงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกันเพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบวิขาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ 3) หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกเป็นกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้ 4) หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนรับรู้ แสดงความเห็นในการตัดสินปัญหาของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความหรือไต่สวน การประชาสัมพันธ์ การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ 5) หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาของบ้านเมือง และกระตือรือร้นช่วยแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะรับผลกระทบจากการกระทำของตนเองและ 6) หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์มีสูงสุดแก่ส่วนรวมโดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้อย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าบริการให้มีคุณภาพ สามรถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน