รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน
ท่าตะโกพิทยาคม อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
ผู้รับผิดชอบ นางสาวศิรินันท์ ยอดฉิมมา
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนท่าตะโก พิทยาคมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมด้านสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของโรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม กับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 และโรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม 2) เพื่อประเมินความความเหมาะสมของปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการ ในการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนของนักเรียนโรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม ตามประเด็นของโครงการ คือ 4.1) เพื่อประเมินผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม 4.2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องกับโครงการที่มีผลต่อ การดำเนินการตามโครงการ และ 5) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่าก่อน และหลังดำเนินโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 6 คน คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 99 คน มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ครู 86 คน นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 1,615 คน และผู้ปกครองนักเรียนซึ่งเป็น ผู้ปกครองของนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 – 6 จำนวน 1,615 คน รวมทั้งสิน จำนวน 3,335 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ แบบ CIPP Model โดยแบบประเมิน มี 4 ด้านได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความสอดคล้อง ของวัตถุประสงค์โครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน กับนโยบายของสำนักงานคณะธรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 42 และของโรงเรียน ฉบับที่2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือความเพียงพอของปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามขั้นตอน การดำเนินงานตามโครงการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามผลการดำเนินงานตามโครงการ และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบการประเมินโครงการด้านผลผลิต ระหว่างก่อนและหลังดำเนินโครงการโดยใช้ t-test แบบ Dependent Sample test นำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบการอธิบายและพรรณนาวิเคราะห์ ผลการประเมินโครงการปรากฏ ดังนี้ 1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของโรงเรียน ท่าตะโกพิทยาคม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโครงการ พบว่า ในภาพรวม มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการประเมินปัจจัยของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียน ท่าตะโกพิทยาคม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการประเมิน กระบวนการดำเนินงาน ตามโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมิน การดำเนินงาน ตามโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมชองนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม ตามประเด็นของโครงการ ดังนี้ 4.1 ผลการประเมินผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม ตามความคิดเห็นของ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่มีผลต่อการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม ตามความคิดเห็นของ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5. การเปรียบเทียบ ผลการประเมินโครงการการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างก่อนและหลังการดำเนินโครงการ ด้านผลผลิต พบว่า มีผลการประเมินโครงการหลังดำเนินการ สูงกว่าก่อนดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ 1) โครงการนี้เป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพควรได้รับการสนับสนุน อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นโครงการที่สามารถส่งเสริมงานด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนในโรงเรียนได้อย่างแท้จริง 2) ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการจัดโอกาส ให้มีการประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการดำเนินงานของโรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีความยั่งยืนต่อไป 3) ควรประสานงานและร่วมกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดหา และสนับสนุนงบประมาณ ให้เหมาะสม และเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ 4) จัดทำนโยบาย และแผนกลยุทธ์เป็นนโยบายระดับชาติ โดยใช้กลยุทธ์ของการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแผนทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ 5) นำนโยบายมากำหนดกรอบในการปฏิบัติงานระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น โดยให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับร่วมกันสร้างความเข้าใจ กำหนดนโยบาย ให้สอดคล้องกับท้องถิ่น จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จ และเกิดผลในระยะยาว ผู้รับผิดชอบทุกระดับสามารถนำปัญหา และอุปสรรคที่ได้จากการวิจัย เพื่อปรับแผนงานหรือกลยุทธ์ สู่ความสำเร็จในระยะยาว