การประเมินโครงการพัฒนากีฬาเปตองสู่ความเป็นเลิศ
ผู้ศึกษา นายอำนาจ นาคแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมเทศบาล ๔ เทศบาลเมืองสิงห์บุรี
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนากีฬาเปตองสู่ความเป็นเลิศ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนากีฬาเปตองสู่ความเป็นเลิศตามกรอบแนวคิดการประเมิน CIPPIEST Model และศึกษาแนวทางการส่งเสริมความสำเร็จของโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬาเปตอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มคณะผู้บริหาร และกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 237 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1) ผลการประเมินโครงการเปตองสู่ความเป็นเลิศ ตามรูปแบบ CIPPIEST Model ทั้ง 8 ด้าน โดยภาพรวมมีความเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มคณะผู้บริหารเห็นว่าภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งสามารถแยกผลการประเมินออกเป็นรายด้านได้ ดังนี้
1.1 ด้านบริบท ภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า ภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.3 ด้านกระบวนการ ภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.4 ด้านผลผลิต ภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.5 ด้านผลกระทบ ภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.6 ด้านประสิทธิผล ภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 1.7 ด้านความยั่งยืน ภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 1.8 ด้านการถ่ายโยงความรู้ ภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) แนวทางการส่งเสริมความสำเร็จของโครงการพัฒนากีฬาเปตองสู่ความเป็นเลิศ ควรได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อส่งเสริมความสำเร็จมีดังนี้ มีการวางแผนการฝึกซ้อมที่แน่นอน มีผู้ฝึกสอนและมีการจัดโปรแกรมการซ้อมไม่ให้ตรงกับเวลาเรียน เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีการวางแผนร่วมกันทั้งนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ครูผู้สอนรายวิชาต่างๆ โดยเฉพาะเกณฑ์การวัดผลที่เป็นข้อยืดหยุ่นให้กับนักกีฬาจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องเวลาเรียนและเป็นการเพิ่มจำนวนนักกีฬาที่มีความสามารถให้กลับมาสนใจในการเป็นตัวแทนนักกีฬาของโรงเรียน เสริมสร้างแรงจูงใจในการเข้ามาเป็นนักกีฬาของโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดการอัดฉีดให้กับนักกีฬาที่สร้างผลงานได้ดี โดยมีเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่งเสริมสนับสนุนการเสริมสร้างเรื่องสมาธิเพื่อลดการตื่นเต้นจนเกินไปในขณะแข่งขัน การเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาเปตองเข้ามาร่วมหาแนวทางในการพัฒนา สร้างทัศนคติให้นักกีฬามีใจรักและทุ่มเท มีการเก็บตัวฝึกซ้อมอย่างเป็นทางการก่อนไปแข่งขัน เชิดชูความสามารถของนักกีฬาที่เป็นตัวแทนทั้งที่ได้เหรียญรางวัลและไม่ได้เหรียญ การจัดหาผู้ฝึกสอนภายนอกหรือศิษย์เก่าที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มเติมจากอาจารย์ที่รับผิดชอบเข้ามาช่วยในการวางแผนฝึกซ้อม การจัดหาแหล่งทุนสนับสนุน อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับนักกีฬา การจัดตั้งชมรมกีฬาให้มีความพร้อม เช่น สถานที่ฝึกซ้อม การตั้งชมรมคือโอกาสการได้มาซึ่งนักกีฬาที่มีใจรักและพร้อมที่จะพัฒนา