ชื่อเรื่อง การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ 5G MODEL
โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล
ผู้วิจัย นางสาวจารี วุฒิมานพ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16
ปีวิจัย ปีการศึกษา 2561-2562
คำสำคัญ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา/5G MODEL
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ 5G MODELโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 -2562 2. เพื่อศึกษาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 – 2562 โดยจำแนกเป็น 2.1 คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2561 -2562 2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2561 -2562 2.3 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561-2562 2. 4 ผลการประเมินโรงเรียนดีมีคุณภาพ 7 ลักษณะโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 – 2562 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูลหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 – 2562และ4. เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงบวก ที่ปรากฏต่อโรงเรียน ครู นักเรียนโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล ปีหลังการพัฒนา การศึกษา 2561 -2562 วิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ ปัญหาความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพ การศึกษา ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาภูมิหลังตามสภาพจริง สารสนเทศ และจากการเสวนากลุ่มเพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดปัญหาในการวิจัยโดยใช้ ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดกรอบกิจกรรมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระยะที่ 2 การดำเนินการวิจัยการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการวิจัยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามกรอบกิจกรรม 5G MODEL ระยะที่ 3 การประเมินผลการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นตอนที่ 5 ประเมินผลการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นตอนที่ 6 วิเคราะห์ผลการประเมินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นตอนที่ 7 การสรุปรายงานผลและเผยแพร่ผลงาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานเป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ
เก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล เป็นประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 317 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 24 คน ผู้ปกครองจำนวน 317 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คนยกเว้นผู้บริหารและตัวแทนครู และเครือข่ายชุมชน จำนวน 9 คน ปีการศึกษา 2561 -2562 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกทั้งสิ้น 7 ฉบับ มี 2ลักษณะ คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 3 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยมีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตั้งแต่ .80 - .89 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงจำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบจากการบันทึกข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ 5G MODELโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล ปีการศึกษา2561-2562 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงของโรงเรียนดังนี้
1. ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้ 5G MODELโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล ตามความคิดเห็นของกลุ่มผู้ประเมินทั้งสี่กลุ่มประกอบด้วย นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานหลังการพัฒนาปีการศึกษา2561-2562 พบว่า ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพปานกลาง-มาก และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่านักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.87 , S.D. = 0.02) คุณภาพระดับมาก รองลงมากลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.86 , S.D. = 0.04) ระดับปานกลาง และครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (= 3.23 , = 0.12) ระดับปานกลาง และปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพมาก-มากที่สุด และเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่าคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.56 , = 0.24) ระดับมากที่สุด รองลงมาครู (= 4.21 , = 0.10) ระดับมาก นักเรียนมรค่าเฉลี่ยต่ำสุด( = 4.07 , S.D. = 0.02) ระดับมากสอดคล้องกับสมมุติฐาน
2. ผลคุณภาพการศึกษาโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 -2562 2.1 คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2561 และ 2562 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการและมาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลการประเมินทั้ง 3 มาตรฐาน ดีเลิศ ทั้งสองปีการศึกษา สอดคล้องกับสมมุติฐาน 2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ปีการศึกษา ดังนี้ ปีการศึกษา 2561 มีผลการเรียนเฉลี่ยโดยรวม 2.74 เมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า ผลการเรียนเฉลี่ยสุขศึกษาและพลศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดที่ระดับ 3.5 รองลงมาเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีมีคะแนนเฉลี่ย 3.00 ต่ำสุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 2.24 และปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นมีผลการเรียนเฉลี่ยโดยรวม 2.96 เมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ผลการเรียนเฉลี่ยสุขศึกษาและพลศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดที่ 3. รองลงมากลุ่มสาระการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ย 3.13 สาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 2.49 สอดคล้องกับสมมุติฐาน 2.3 ผลการพัฒนาผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนโรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561-2562 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561 คะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 34.47 และเมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่ากลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ย 52.08 รองลงมาเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 33.61 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดคือคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 25.25 และ ปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 25.90 เมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่ากลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ย 53.97 รองลงมากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ย 28.99 ต่ำสุดคือกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 20.48 ค่าพัฒนาลดลง-4.77 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 คะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 29.45 และเมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่ากลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ย 41.55 รองลงมาเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีคะแนนเฉลี่ย 34.45 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 19.98 และ ปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 25.30 เมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่ากลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือคือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ย 32. รองลงมาเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีคะแนนเฉลี่ย 32.ต่ำสุดคือกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย 15.56 ไม่สอดคล้องกับสมมุติฐาน และ 2.4 ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนดีมีคุณภาพ 7 ลักษณะ โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูล หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561-2562 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง ผลเป็นดังนี้ ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่าค่าเฉลี่ย ผู้ปกครอง ( = 3.86 , S.D. = 0.03) สูงกว่าครู (= 3.26 , = 0.13) และ ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่าค่าเฉลี่ย ผู้ปกครอง ( = 4.39 , S.D. = 0.08) สูงกว่าครู (= 3.86 , = 0.03) สอดคล้องกับสมมุติฐาน
3. สรุปผลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนหลังการพัฒนาคุณภาพ โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จังหวัดสตูลปีการศึกษา 2561-2562 ดังนี้ ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพปานกลาง-มาก เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่าเครือข่ายชุมชนมีระดับความพึงพอใจค่าเฉลี่ยสูงสุดคุณภาพระดับมาก ( = 4.49 , S.D. = 0.07) รองลงมาครูคุณภาพระดับมาก (= 4.39 , = 0.15) ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.88 , S.D. = 0.15) มีคุณภาพระดับปานกลาง และปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพมาก-มากที่สุด เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่าเครือข่ายชุมชนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.58 , S.D. = 0.06) ที่สุด รองลงมาครู (= 4.54 , . = 0.16) ระดับคุณภาพมากที่สุด ค่าเฉลี่ยต่ำสุดผู้ปกครอง ( = 4.03 , S.D. = 0.03) คุณภาพระดับมากสอดคล้องกับสมมุติฐาน
4. ผลกระทบเชิงบวกรางวัลและเกียรติบัตรระดับประเทศปีการศึกษา 2561-2562 ต่อเนื่อง โรงเรียนได้รับราง 2 รายการผู้อำนวยการโรงเรียนและครู 4 รายการ นักเรียน 3 รายการสอดคล้องกับสมมุติฐาน.
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 โรงเรียนควรชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และเครือข่ายชุมชน ให้รับทราบ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วม ทุกฝ่าย ซึ่งต้องเข้าใจอย่างชัดเจนทั้งกระบวนการและบทบาทและการใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
1.2 การดำเนินกิจกรรมทั้ง5GMODELควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2.2 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคุณภาพการศึกษากับโรงเรียนดีมีคุณภาพ 7 ลักษณะเพื่อให้เกิดความยั่งยืน