การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว พบว่ากิจกรรมแนะแนวมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันเนื่องจากกิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนด
นักเรียนมีความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการส่งเสริมทักษะชีวิตและทักษะ การทำงานกลุ่มโดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เรียกว่า “PI2C Model” ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล และ เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมไปใช้ ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นเตรียม (Preparation: P) (2) ขั้นสอน (Instruction: I) (3) ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ (Check and Test : C) (4) ขั้นสรุปและประเมินผลการทำงานกลุ่ม (Conclusion and Evaluation: C) (4) การวัดและประเมินผล) และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.03/83.49
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (2) คะแนนทักษะในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (3) ทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับการปฏิบัติมาก
4. ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดแก้ปัญหา รายวิชา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับมากที่สุด