การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้
แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน สมศักดิ์ นรารักษ์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิด การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3.2) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านย่านยาว สังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา จำนวน 46 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบวัดคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนโดยใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า แนวคิดทฤษฎีที่มีความเหมาะสมในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา ทฤษฎีการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และทฤษฎีกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท
2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีชื่อว่า “P plus 4 CA Model” ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้ (Providing Daily Review) ขั้นตอนที่ 2 การนำเสนอสาระที่ควรเรียนรู้ใหม่ (Presenting New Material) ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติกิจกรรม โดยครูให้คำแนะนำ (Conducting Guided Practice) ขั้นตอนที่ 4 การให้ข้อมูลย้อนกลับและวิธีแก้ไข (Providing Feedback and Corrections) ขั้นตอนที่ 5 การฝึกทบทวนปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ ทักษะ และความชำนาญ (Assigning Independent Practice) และขั้นตอนที่ 6 การทบทวนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและมีความคงทนของความรู้ความเข้าใจ (Providing Weekly and Monthly) โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอน P plus 4 CA Model ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.99/83.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ผสมผสานกลวิธีเอ็กซ์พลิซิท เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก