LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

หัวข้องานวิจัย    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ
(Active Learning) เรื่อง สิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ผู้วิจัย    นพวรรณ ดวงดี
ปีการศึกษา    2562
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เรื่อง สิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เรื่อง สิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เรื่อง สิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ (4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เรื่อง สิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรมเสนานีวรคุณ) สังกัดเทศบาลเมืองโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นด้านเนื้อหาในการพัฒนารูปแบบของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานวิจัยและการจัดทำนวัตกรรมทางการศึกษา แบบสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนารูปแบบ 2) เครื่องมือในการประเมินผลรูปแบบ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะกระบวนการของนักเรียน แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไข ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองทุกขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1.    เนื้อหาสาระที่เหมาะสมเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) ควรเป็นเนื้อหาตามหลักวิชาการที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน และครูผู้สอน เนื้อหาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ได้ โดยเน้นเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับชั้น และเขียนเนื้อหาให้ละเอียดครอบคลุมจุดประสงค์ที่กำหนดในแต่ละเรื่อง การนำไปใช้จัดการเรียนการสอน เป็นการสอนแบบใช้เป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรแยกเนื้อหาออกเป็นเรื่อง ๆ มีชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อประกอบการสอน การวัดผลและประเมินผล ควรมีทั้งแบบทดสอบ และแบบสังเกตพฤติกรรม โดยออกแบบให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาแต่ละเรื่อง ควรคำนึงถึงเรื่องงบประมาณในการจัดทำให้พอเหมาะ การเขียนเนื้อหาควรสืบค้นข้อมูลทางวิชาการให้ครบถ้วน ควรจัดทั้งในเวลาเรียนปกติ และมอบหมายให้นักเรียนศึกษานอกเวลาเรียน
2.    ผลการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพเบื้องต้นของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เรื่อง สิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำรูปแบบไปหาประสิทธิภาพรายบุคคลแบบกลุ่มเล็ก และแบบภาคสนามได้ประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 61.11/62.50 , 70.37/71.94 และ 84.50/82.67 ตามลำดับ
3.    ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินทักษะกระบวนการของนักเรียน หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ในภาพรวม นักเรียนมีทักษะกระบวนการอยู่ในระดับสูง และคะแนนระดับจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.    การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ พบว่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เรื่อง สิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 86.49/88.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เรื่อง สิ่งมีชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^