LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
        โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ
        รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์)
        สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย     เพลินจันทร์ ปฐมศิริกุล
ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอน ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียน การสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3.2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านยะกัง) ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส ประกอบด้วย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 30 คน และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านยะกัง) ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ ชุดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุในท้องถิ่น จำนวน 9 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ t-test (Dependent Sample) ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ ดังนี้
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า แนวคิดทฤษฎีที่มีความเหมาะสมในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ได้แก่ แนวคิดทฤษฏีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructive) แนวคิดทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ทฤษฏีการคิดสร้างสรรค์และแนวคิดเกี่ยวกับความพอเพียง
    2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า AOMIAEC Model (เอโอมิเออีซี โมเดล) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 Anticipatory Set (A) คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 Objective and Purposes (O) คือ ขั้นแจ้งหรือบอกวัตถุประสงค์การเรียนรู้และเป้าหมาย ขั้นที่ 3 Modeling (M) คือ ขั้นเสนอรูปแบบหรือกิจกรรมเนื้อหาใหม่ ขั้นที่ 4 Independent and Guided practice (I) คือ ขั้นฝึกปฏิบัติโดยอิสระและการชี้แนะ ขั้นที่ 5 Analytical outcomes (A) คือ ขั้นวิเคราะห์ผลงาน ขั้นที่ 6 Extended practice (E) คือ ขั้นพัฒนาทักษะขั้นที่ 7 Concluding from Experience (C) คือ ขั้นสรุปและประเมินผลสรุปผลการเรียนรู้ และมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.28/84.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
        3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3.2 ความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบ การเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี การสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะอาชีพ รายวิชางานประดิษฐ์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวม อยู่ในระดับพึงพอใจมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^