การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนทักษะงานประดิษฐ์ สำหรับนักเรีย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว สังกัดเทศบาลนคร
อุบลราชธานี
ผู้วิจัย นางมิตราภรณ์ โสมโสภา โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว เทศบาลนคร
อุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานประดิษฐ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานงานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มที่ใช้ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน จานวน 316 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม 2) กลุ่มทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 การเลือกแบบเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก จานวน 30 คน การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียน การสอน 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีการพัฒนาทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับปานกลาง การจัดการเรียนการสอนยังขาดการเชื่อมโยงกิจกรรม การเรียนรู้กับรายวิชาอื่นๆ การแสวงหาความรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีอยู่ในระดับน้อย มีความต้องการพัฒนาทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีลักษณะเป็นแบบแผนจาลองที่เป็นเอกสารมี 5 องค์ประกอบสาคัญ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์งาน แผนการจัดการเรียนรู้ เอกสารประกอบการเรียนรู้ และสื่อ/แหล่งเรียนรู้ระบบเครือข่าย 3) นักเรียนกลุ่มทดลองตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีผลการทดลองอยู่ในระดับดี 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลการประเมินทักษะงานช่างพื้นฐานระหว่างก่อนทดลองกับหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินหลังการทดลองกับระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน