การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่ง
จากวัสดุหรือเศษวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางมิตราภรณ์ โสมโสภา
โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว
เทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุหรือเศษวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุหรือเศษวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุหรือเศษวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลพลประชานุxxxล เทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุหรือเศษวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุหรือเศษวัสดุเหลือใช้ เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ค่าความยาก ระหว่าง 0.37 ถึง 0.80 ค่า อำนาจจำแนก ระหว่าง 0.20 ถึง 0.70 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยค่าที t – test
ผลการวิจัย พบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุหรือเศษวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.00/87.50 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุหรือเศษวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก