การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและ ความสามา
ความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี)
ผู้วิจัย นางดวงกมล วงค์ละคร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๑ “เชิงชุมประชานุxxxล” สังกัดสำนักการศึกษา
เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ (4.1) การเปรียบเทียบทักษะการฟัง ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (4.2) การเปรียบเทียบทักษะการพูด ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (4.3) การเปรียบเทียบทักษะการอ่าน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (4.4) การเปรียบเทียบทักษะการเขียน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) และ (4.5) การเปรียบเทียบความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) Implement: l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) (Evaluation: E) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๑ “เชิงชุมประชานุxxxล” สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวนนักเรียน รวม 25 คน ด้วยการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t–test (Independent Sample t – test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นขั้นเป็นตอนและชัดเจน ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement : E) 2) ขั้นเผชิญสถานการณ์ (Confrontation of events : C) 3) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Acting in real situation : A) 4) ขั้นแลกเปลี่ยนความคิดและสรุปความคิด (Reciprocation and conclusion : R) 5) ขั้นสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism : C) และ 6) ขั้นประยุกต์ใช้และประเมินผล (Application and assessment : A)
รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 – 4.60 ซึ่งส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แสดงว่ารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) มีความเหมาะสมในการนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ตามความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50-5.00 และความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่ปฏิบัติการสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี และ 5-6 ปี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50-4.00 แสดงว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี 4-5 ปี และ 5-6 ปี
3. เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนและโดยรวมทั้ง 4 ด้านและความสามารถในการแสวงหาความรู้ แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
4.1 ทักษะการฟัง ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการฟังหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สูงกว่า ก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการฟังเพิ่มขึ้น
4.2 ทักษะการพูด ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการพูดหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สูงกว่า ก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการพูดเพิ่มขึ้น
4.3 ทักษะการอ่าน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการอ่านหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการอ่านเพิ่มขึ้น
4.4 ทักษะการเขียน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ทักษะการเขียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการเขียนเพิ่มขึ้น
4.5 ความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4 ปี) สูงกว่าก่อนเรียน ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้น