รูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านโพธิ์กลาง
สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย นายนิพนธ์ ธัญภัทรานนท์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2562
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของ
โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านโพธิ์กลาง ซึ่งได้ดำเนินการ 4ขั้นตอน ดังนี้1)ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนา
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) 2)สร้างรูปแบบการ
บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหาร
สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านโพธิ์กลาง และ 4) นำเสนอผลการใช้รูปแบบการ
บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านโพธิ์กลาง
กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน
เทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) จำนวน
72 คน และกลุ่มเปาหมายที่ที่ใช้ในการรายงานผลการใช้รูปแบบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 41 คน
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล พบว่าได้แนวคิดและ
ข้อมูลเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบหลักเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน
เทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) ได้แก่ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาที่มี
ประสิทธิผล 2) การศึกษาสถานศึกษาต้นแบบ (Best Practices) 3) การศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนา
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้าน
โพธิ์กลาง) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก การสร้างคู่มือการดำเนินการตามรูปแบบการบริหาร
สถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้ 1)
หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบของรูปแบบ 4) วิธีดำเนินการของรูปแบบ 5) แนว
ทางการประเมินผล 6) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ
3. ผลการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์
กลาง) ไปใช้ในสภาพจริง พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มี
ประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโดยภาพรวมมีการ
ปฏิบัติ/เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก (=4.41,=0.06)
4. ผลการนำเสนอการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน
เทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา พบว่า โดยรวมเห็นด้วยกับรูปแบบ
การบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) อยู่ในระดับมากที่สุด
(=4.54,=0.12)