รายงานผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมสริมประสบการณ์ อ่านต่อได้ที่:
การปั้นดินน้ำมันเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 – 6 ปี)
ผู้ศึกษา วราภรณ์ ศิริตะโร
หน่วยงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ปีที่ทำการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมสริมประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการปั้นดินน้ำมันเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 – 6 ปี) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมสริมประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการปั้นดินน้ำมันเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 – 6 ปี) โดยให้นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคะแนนการทดสอบด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมสริมประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการปั้นดินน้ำมันเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 – 6 ปี) 2) แบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมปั้นดินน้ำมัน สำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมสริมประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการปั้นดินน้ำมันเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 – 6 ปี) โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการปั้นดินน้ำมัน สำหรับนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 – 6 ปี) จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ 3) หาค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความยากง่าย (p) และค่าความเชื่อมั่น โดยใช้วิธีหา KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Khuder-Richardson) และ 4) เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 – 6 ปี) โดยการวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการปั้นดินน้ำมันเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 3 (อายุ 5 – 6 ปี) คิดเป็นร้อยละ 93.33 ซึ่งได้จากนักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคะแนนการทดสอบด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป