รายงานผลการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะห
หาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 - 5ปี)
ผู้วิจัย สุชาดา หมื่นศรีแกม
หน่วยงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 - 5 ปี) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 - 5 ปี) ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 - 5 ปี) ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ หาความรู้ (5Es) และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 - 5 ปี) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบางดี สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบางดี ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) จำนวน 20 แผน 2) แบบทดสอบแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ 2) หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนแบบทดสอบการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนก่อนและหลังทดสอบการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาคะแนนรวม คะแนนค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t – test) แบบPaired -Samples t-test และ 4) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ หาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.64/93.33 ตามเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นปฐมวัยปีที่ 2 (อายุ 4 – 5 ปี) อยู่ในระดับมาก