การพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรร
จากเศษวัสดุเหลือใช้ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 4 ปี)
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านต้อน
ผู้ศึกษา พรณิภา หลินภู ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านต้อน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างค้อ
อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือใช้ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 4 ปี) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือใช้ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 4 ปี) และเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 4 ปี) ด้วยการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือใช้ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านต้อน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือใช้เพื่อการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็ก ปีที่ 2 (อายุ 4 ปี) จำนวน 25 แผน และแบบทดสอบความสามารถการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 4 ปี) ก่อน และหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือใช้ จำนวน 1 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การทดสอบค่า t–test
ผลการศึกษาพบว่า
1. เด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 4 ปี) ที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ก่อนการจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กคิดเป็นร้อยละ 62.50 และหลังการจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กคิดเป็นร้อยละ 87.08 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1.1 ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของ
ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กเท่ากับ 9.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.05 คิดเป็นร้อยละ 63.00 และหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กเท่ากับ 13.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.47 คิดเป็นร้อยละ 88.00
1.2 ด้านการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของ
ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กเท่ากับ 9.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.54 คิดเป็นร้อยละ 64.00 และหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กเท่ากับ 13.10 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.37 คิดเป็นร้อยละ 87.33
1.3 ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อเล็กก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของ
ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กเท่ากับ 8.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.88 คิดเป็นร้อยละ 59.00 และหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กเท่ากับ 13.05 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 คิดเป็นร้อยละ 87.00
1.4 ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของ
ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กเท่ากับ 9.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.47 คิดเป็นร้อยละ 64.00 และหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กเท่ากับ 12.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.77 คิดเป็นร้อยละ 86.00 ตามลำดับ
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์หลังการทำกิจกรรมความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ด้านการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อเล็กและด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาสูงกว่าก่อนการทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05