LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

usericon

ชื่อเรื่อง                    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา
                    เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม
                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย                นายปิยะพงษ์ ยนต์ชัย
หน่วยงาน            โรงเรียนเกิ้งวิทยานุxxxล องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ทำการวิจัย        ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ
    
    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎี พหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3.2) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเกิ้งวิทยานุxxxล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีเหตุผล ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

        1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล โดยรวม อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.24, S.D. = 0.57)
        2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นการสอน 5 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นเตรียม (Preparation : P) (2) ขั้นรับรู้ (Perception : P) (3) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice : P) (4) ขั้นสรุป (Conclusion : C) (5) ขั้นประเมินผล (Evaluating : E) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.01/75.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
        3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5    
            3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 23.25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 77.50 โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนร้อยละ 83.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด                 3.2) ผลการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 23.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 76.67 โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนร้อยละ 83.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
        4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎี พหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวม อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.33, S.D. = 0.57)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^