กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา
ผู้เขียน นายสุทัศน์ สมจิตร
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม 3) เพื่อศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองส่งผลต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูและบุคลากรทางศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิ วราราม จำนวน 26 คน ผู้ทรงคุณวุฒิระดับเชี่ยวชาญ จำนวน 16 คน และผู้ปกครองนักเรียน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบและการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแบบมี ส่วนร่วม โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 4 ส่วน คือ 1) องค์ประกอบพื้นฐานครอบคลุม 1.1) กำหนดจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงาน 1.2) อาศัยหลักการกระจายอำนาจการบริหารจัดการตนเอง การมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการที่ดี และ 1.3) กำหนดแนวทางการนำรูปแบบไปใช้ 2) องค์ประกอบโครงสร้างระบบการบริหารครอบคลุม 2.1) 14 ปัจจัย 2.2) งานวิชาการ งานบุคลากร งานงบประมาณและงานบริหารทั่วไป 2.3) มีการวางแผนการจัดองค์กร การอำนวยการและการควบคุม 2.4) ใช้การประกันคุณภาพ การนิเทศภายในการบริหารบุคคลและงบประมาณแบบเน้นผลงาน ระบบสารสนเทศในการบริหารและการพัฒนาทีมงาน 3) องค์ประกอบกระบวนการการดำเนินงาน คือ มีการเตรียมการการดำเนินการ การประเมินผลและการสรุปรายงานผล และ4) องค์ประกอบด้านการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชน