การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้วิจัย นางกรรณิการ์ คำฝั้น ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนา การความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยได้แบ่ง การดำเนินงานการพัฒนารูปแบบ การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปี 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ และผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าวิชาการโรงเรียนและครูผู้สอนระดับปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development D & D) การพัฒนาหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 5 คนและเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562จำนวน 32 คน ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) การทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) การประเมินและปรับปรุง แก้ไขการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ ครูปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จำนวน 12 คน ซึ่งได้มา โดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) แบบทดสอบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และ t-test แบบ Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคลสามารถกำหนดเป็นนิยาม องค์ประกอบและพฤติกรรมในแต่ละองค์ประกอบของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและแนวทางการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก พบว่า พฤติกรรมที่แสดงถึงการรับรู้ การทำความเข้าใจกับปัญหาและการคิดหาเหตุผลเพื่อแสวงหาหาทางเลือกมาปฏิบัติในการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความคล่องแคล่ว 2) ด้านความยืดหยุ่น 3) ด้านความสามารถในการควบคุม 4) ด้าน การประสานกันและ 5) ด้านการรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัส
2. กระบวนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยความเป็นมาและความสำคัญ หลักการและแนวคิดพื้นฐาน วัตถุประสงค์ รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ขั้นตอนของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ การประเมินผลและเงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ไปใช้ โดยกระตุ้นให้เด็กปฐมวัย ใช้จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ คิดหาเหตุผล ในการนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่มีอยู่ ตามระดับพัฒนาการมาใช้ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการซึ่งเป็นของตนเอง มีลักษณะแปลกใหม่ต่าง จากสิ่งที่มีอยู่เดิมและหรือมีวิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลายมากกว่าหนึ่งแนวคิดหรือหนึ่งวิธีจนได้ ผลการค้นพบว่าเป็นวิธีการที่สามารถใช้ในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาหลักการ ซี ไอ เอส เอส ที แบ่งได้ 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ 3) ขั้นสาธิตทักษะปฏิบัติ 4) ขั้นปฏิบัติด้วยตนเองและ 5) ขั้นสรุปจัดระบบสาระความรู้
3. รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( ) เท่ากับ 89.57/87.42 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการความสามารถ ในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กเพิ่มขึ้นจากก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( =4.36, =0.68)