การพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Gesell
ทางการเคลื่อนไหว ในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กนักเรียนระดับปฐมวัยชั้นปีที่ 1/2 (2ปี)
ชื่อผู้วิจัย ปวีณา มูลมีมา
สาขา ปฐมศึกษา
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Gesell และพัฒนาความสามารถของการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของนักเรียนระดับปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1/2(2ปี)โดยการสร้างรูปแบบชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Gesell ซึ่งประกอบไปด้วยการเคลื่อนไหว ได้แก่ (1) การปั้น (2) การฉีก – ตัดปะ การปรับตัว ได้แก่ (1) การต่อบล็อกแผ่นไม้ (2) การร้อยลูกปัดรูปทรงหลากสี ภาษา ได้แก่ (1) เพลงพระอาทิตย์ ยิ้มแฉ่ง (2) เพลงกระต่ายน้อย (3) เพลงชูมือ นิสัยส่วนตัวและส่วนรวม ได้แก่ (1) การเทน้ำ 3 สี (2) การเล่นบ่อทราย ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษา นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่มีอายุระหว่าง 2-3 ปี ที่กำลังศึกษาที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองแวง ตำบลบ้านเหล่า อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่าง 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยรูปแบบชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Gesell แผนการจัดกิจกรรมจำนวน 7 แผนกิจกรรม
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Gesell จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านมีค่า IOC เท่ากับ 0.66-1.00 การพัฒนาความสามารถใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กนักเรียนระดับปฐมวัย เด็กนักเรียนทุกคนมีคะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ80 ซึ่งประกอบด้วยความคล่องแคล่ว ร้อยละ 88.33 ด้านความยืดหยุ่น ร้อยละ 93.33 ด้านความถูกต้องและความสามารถในการควบคุม ร้อยละ 81.66ด้านการประสานกันร้อยละ 89.66 และด้านการรับรู้โดยการสัมผัส ร้อยละ 91.66 เมื่อนักเรียนทุกคนทำกิจกรรมร่วมกันมีความรับผิดชอบให้ความร่วมมือและยอมรับฟังผู้อื่น มีคะแนนร้อยละ 90.33-95.00 เมื่อทำกิจกรรมแต่ละครั้งสามารถที่จะทำงานครบตามจำนวนเสร็จตามเวลา คิดสร้างสรรค์ และสวยงาม มีคะแนน 76.66-100
เมื่อเปรียบเทียบคะแนน/ร้อยละความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กกับพฤติกรรมเป็นรายลบุคคลนักเรียนจำนวน 15 คน พบว่าคะแนน/ร้อยละความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและคะแนนพฤติกรรมเป็นรายบุคคลไม่แตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กอยู่ระหว่างร้อยละ 81.33-97.66ส่วนพฤติกรรมเป็นรายบุคคลอยู่ระหว่างร้อยละ 76.33-100 ซึ่งเป็นความสอดคล้องของความสามารถและพฤติกรรมของเด็กนักเรียนประชากรกลุ่มเป้าหมาย
คำสำคัญ : การพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์,แนวคิดของ Gesell,ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก,เด็กนักเรียนระดับปฐมวัย
Research Title Development of a set of creative activities based on Gesell's ideas to
develop motoring behavior. In the use of small muscles
Researcher Miss Paweena Moolmeena
Department childhood
Published Year 2019
ABSTRACT
Objective of this research is to create a Gesell-based creative activity theme and develop the fine motor ability of preschool, kindergarten students. 1/2 (2 years) by creating a series of creative activities based on Gesell's concept, which includes movement: (1) sculpting (2) tear-cutting, adaptation, including (1) splice block. Wood (2) Beading of multi-colored shapes, languages such as (1) Song of the Sun Smile (2) Song of Little Rabbit (3) Music to raise hands Personal and collective habits including (1) 3-color water pouring (2) Pond play sand Which study population Kindergarten 1 students aged between 2-3 years studying at Ban Nong Waeng Child Development Center. Ban Lao Subdistrict Charoen Sin District Sakon Nakhon Province, 30 people, sample group 15 people, research tool, model of creative activity set according to Gesell concept, 7 activity plan, activity plan.
The research results were found that Creating a creative activity theme based on Gesell's ideas from three experts had an IOC value of 0.66-1.00. All students have an overall score of not less than 80 percent. They consisted of 88.33% of fluency, 93.33% flexibility, 81.66% accuracy and control, 89.66% of coordination, and 91.66% of touch perception. Together, have the responsibility to cooperate and listen to others. Have a score of 90.33-95.00 percent. When doing each activity, able to complete the work on time. Think creative and beautiful with a score of 76.66-100.
When comparing individual fine motor ability scores / percentages with behavior, 15 students found that the individual fine motor efficacy scores / percentage and behavior scores did not differ. It can be seen that the ability to use fine muscle is between percent. The individual behavior was between 76.33-100%, which was consistent with the ability and behavior of the target population students.
Keywords: creative activity theme, concept of Gesell, fine motor skills, early childhood students