LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง        :    การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษา
ที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้วิจัย        :    นางวธัญญา เตชะศรี
โรงเรียน         :     โรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย        :     2563

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสำรวจสภาพปัจจุบัน และความต้องการการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสอบถามครูผู้สอน จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน (ไม่นับรวมครูผู้สอนและผู้บริหารที่เป็นตัวแทนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน) และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 181 คน ระยะที่ 2 การออกแบบและสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับอาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 11 ท่าน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบ การจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเมินประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา โดยการสอบถาม ครูผู้สอน จำนวน 15 คน ตรวจสอบร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีขึ้นไป (3.00) ระหว่างปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 ระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบถามความพึงพอใจจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน (ไม่นับรวมครูผู้สอนและผู้บริหารที่เป็นตัวแทนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน) ครูผู้สอน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 21 คน ที่มีต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษา แบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัย พบว่า
    1. สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ในการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ความต้องการของการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
    2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช มีองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน คือ ด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ด้านหลักการของรูปแบบ ด้านระบบงานและกลไกของรูปแบบ และด้านวิธีการดำเนินงานของรูปแบบ พบว่า มีด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ และด้านวิธีการดำเนินงานของรูปแบบ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ด้านหลักการของรูปแบบ ด้านระบบงานและกลไกของรูปแบบ และด้านวิธีการดำเนินงานของรูปแบบ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก และร้อยละของนักเรียนที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีขึ้นไป (3.00) จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2560 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
    4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตเทศบาลตำบลหินตก จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^