รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายนุชิต จุมกุดรัง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล 1 (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์)
สังกัดเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 1 (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวนนักเรียน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย จำนวน 11 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย จำนวน 13 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t – test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดกิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.00/82.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.50)