LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

การพัฒนาทักษะการอ่านวรรณคดีไทยและวรรณกรรมอาเซียน โดยใช้แบบฝึกทัก

usericon

ผู้วิจัย นายนพพงศ์ กองไธสง
สถานศึกษา    โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ศึกษา    2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานพัฒนาทักษะการอ่าน 2) พัฒนาทักษะการอ่านด้วยแบบฝึกทักษะและหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้แบบฝึก และ 4) ประเมินและปรับปรุงแบบฝึกที่พัฒนาขึ้น เป็นการวิจัยและพัฒนามีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ 3) ทดลองใช้ และ 4) ประเมินและปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และครูภาษาไทย โรงเรียนหนองเหล็กศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำแนกเป็นนักเรียนจำนวน 34 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่มและครูภาษาไทย จำนวน 5 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน มีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.71-1.00 2) แผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71) 3) แบบฝึกทักษะการอ่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.85) 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน มีค่าความยากเท่ากับ .27-.75 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และ ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานใช้ t- test (Dependent Samples)
    ผลการพัฒนาปรากฏผลดังต่อไปนี้
    1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา พบว่า นักเรียน และครู ต้องการให้มีการพัฒนาแบบฝึกการอ่าน ด้วยวรรณคดีไทยและวรรณกรรมอาเซียน ที่มีรูปแบบหลากหลาย รูปเล่มมีภาพประกอบที่มีสีสันสวยงาม และดึงดูดความสนใจ เหมาะสมกับวัยผู้เรียน ด้านเนื้อหามีเนื้อหาที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยผู้เรียนด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนและครู ส่วนใหญ่มีความต้องการการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มที่มีการแบ่งกลุ่มคละกันระหว่างกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน เพื่อได้ฝึกเป็นผู้นำ ผู้ตาม ได้ฝึกและเรียนรู้ทักษะทางสังคม น่าตื่นเต้นและสนุกสนาน
    2. การพัฒนาแบบฝึก พบว่า แบบฝึกการอ่านและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีจำนวน 8 ชุด ได้แก่ 1. วรรณคดีไทยล้ำค่า 2. ภาษาอาเซียน 3. เรียนรู้นิทาน 4. ชื่นบานเพลงชาติ 5. นาฏการณ์
ในบทกวี 6. นำชีวีด้วยพระบรมราโชวาท 7. ศาสตร์ศิลป์จากบทเพลงไทย และ 8. ใส่ใจอนุรักษ์ภาษาถิ่น ในแต่ละชุดมีองค์ประกอบดังนี้ คำชี้แจง จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการใช้แบบฝึก แบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้ ใบกิจกรรม (แบบฝึก) แนวตอบแบบฝึก แบบทดสอบหลังเรียน เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน และบรรณานุกรม ผลการทดลองหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน พบว่า รายบุคคล มีค่าเท่ากับ 66. 52/63.83 ประสิทธิภาพการทดลองกลุ่มเล็ก มีค่าเท่ากับ 78.38/76.08 และประสิทธิภาพการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 86.52/84.90
    3. ผลการทดลองใช้แบบฝึกที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.52/84.90 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7563 นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านวรรณคดีไทยและวรรณกรรมอาเซียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีทักษะการอ่านหลังเรียน อยู่ในระดับสูง และมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกการอ่านและการเขียนเชิงสร้างสรรค์ด้วยวรรณคดีไทยและวรรณกรรมอาเซียน โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.71)
    4. การประเมินและปรับปรุงแบบฝึกการอ่าน ที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกที่พัฒนาขึ้น มีทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับสูง และมีความคิดเห็นต่อแบบฝึกที่พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านรูปแบบของแบบฝึกทักษะ ด้านประโยชน์ในการเรียนรู้ด้วยแบบฝึก และด้านกิจกรรมในการเรียนรู้ ( = 4.78 ; 4.75 และ 4.67 ตามลำดับ)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^