การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายปิยะพงษ์ ยนต์ชัย
หน่วยงาน โรงเรียนเกิ้งวิทยานุxxxล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักร
การเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนทุกคนได้ฝึกปฏิบัติจริง จนเกิดทักษะและความชำนาญในการ
เรียนรู้ พัฒนาความสามารถในการคิด การเปรียบเทียบ การให้เหตุผล ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบ
วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเกิ้งวิทยานุxxxล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ครอบคลุมทุกเนื้อหาสาระ ซึ่งข้อสอบมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.30 - 0.75 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.32 - 0.89 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.87 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วย
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.36 - 0.78 และได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.09/77.65 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6807 แสดงว่า นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 68.07
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 88.24 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล ช่วยให้นักเรียนมีความรู้สูงขึ้น และมีความพึงพอใจในการเรียน ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป