LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการ    คิดวิเคราะห์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย     นางสาวฉัตรธิภรณ์ ศิริวัฒน์
โรงเรียน     เทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ศึกษา
ผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ผู้ให้ข้อมูลมี 3 ส่วน คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยและพัฒนาหลักสูตร ด้านภาษาไทย ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษา และนักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน และพระสงฆ์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย และแบบสอบถามแนวทางจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย(x-bar)
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการสอน แหล่งข้อมูล คือ เอกสาร และผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x-bar)
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 45 ข้อ และ
3) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x-bar)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอน แหล่งข้อมูล คือ เอกสาร ผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
        1. การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รูปแบบการสอนที่ได้เรียกว่า ITBAS Model มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน มี 5 ขั้น คือ (1) นำข้อมูลเข้าสู่ระบบการคิด (Insert data : I) (2) แสดงความคิดต่อข้อมูล (Think : T) (3) ขั้นระดมสมอง (Brain stroming : B) (4) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Analysis : A) และ (5) ขั้นสรุปและประเมินผล (Summarize and Evaluation : S) และ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียน
        2. ผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้
            2.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ITBAS
Model) มีค่าเท่ากับ 81.59/81.16 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
            2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ITBAS Model)
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
            2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ITBAS Model) โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.72)


Title        Development of teaching method by utilizing learning resource of community to promote critical
thinking ability for third grade students of secondary school
Author    Chatiphon Siriwat
School    Municipality 1 (Burapha Witthayakorn), Nakhon Ratchasima Municipality, Nakhon Ratchasima, 2563

Abstract

    This study aimed to develop teaching method by utilizing learning resource of community to promote critical thinking ability of students for third grade students of secondary school and to investigate the effects of using this method on critical thinking ability of students. Methodology of this study is divided into 4 steps. Firstly, studying about the pattern of Thai language learning management. Information was provided by specialists in research and development of curriculum, Thai-teaching teachers, academics, local philosophers, and monk. Questionnaires about the pattern of Thai language learning management as well as about the strategy of learning management utilizing learning resource of community to promote critical thinking ability were used as a research tool. Data analysis was performed by analyzing contents. Data are presented as mean and SD. Secondly, developing teaching method. Source of the information are documents and specialists. Teaching method evaluation form was used as a research tool. Data are presented by percentage, mean and SD. Thirdly, a trial of the developed teaching method was performed. 48 students in class 3/3 of Burapha Witthayakorn school, Nakhon Ratchasima in semester 2/2560 were recruited using Cluster Random Sampling into this study. Research tools consisted of 9 sets of learning plans, critical thinking ability examination, and satisfying evaluation form. Statistical significance was analyzed by t-test. Data are represented by percentage, mean and SD. Lastly, improving and re-developing teaching method. Source of the information is documents. The content was analyzed by researcher and specialists. This study has shown that teaching method, namely ITBAS Model which was developed consists of 4 parts, such as (1) principle of teaching method, (2) objectives, (3) five teaching and learning processes, and (4) results of implementing the teaching method. Five teaching and learning processes includes Insert data: I, Think: T, Brain storming: B, Analysis: A, and Summarize and Evaluation: S. Results demonstrated that the effectiveness of learning plan using ITBAS Model was 81.59/81.18 which accomplished the target (80/80). In addition, this study reported that students who obtained ITBAS Model significantly presented the higher critical thinking ability than before leaning with ITBAS Model (p< 0.05). Besides, the mean of students’ satisfaction to ITBAS Model is 4.72, representing the very good satisfaction.





ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^