การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ฯ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ผู้วิจัย นายโกศล มิตรพระพันธ์
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองใหญ่(คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี โดยใช้รูปแบบการประเมิน360 องศา ใน 4 ประเด็น ต่อไปนี้ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลลัพธ์ และ 4) ข้อมูลย้อนกลับ ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ได้แก่ ครู โรงเรียนบ้านหนองใหญ่(คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2562 แยกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน หัวหน้างานวิชาการโรงเรียน จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครู จำนวน 44 คน และคณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 5 คน รวม 67 คน ซึ่งได้มาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองใหญ่(คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ผลการประเมิน ปรากฏผลดังนี้
1. ความคิดเห็นของคณะครูและคณะกรรมการดำเนินงาน เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองใหญ่(คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ทั้งด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินการ ด้านผลลัพธ์และด้านข้อมูลย้อนกลับ
2. ความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนบ้านหนองใหญ่(คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ทั้งด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินการ ด้านผลลัพธ์ และด้านข้อมูลย้อนกลับ
3. ข้อเสนอแนะครูและคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองใหญ่(คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ในความถี่มากที่สุดโดยเฉพาะด้านครูผู้สอนและด้านทีมบริหาร
ปัญหาและแนวทางในการพัฒนา
1. การนิเทศและติดตามโครงการยังขาดความต่อเนื่อง คณะครูและกรรมการดำเนินงานมีข้อเสนอแนะว่าอยากให้มีการนิเทศอย่างต่อเนื่องและมีปฏิทินงานที่ชัดเจน
2. ควรมีการสำรวจหรือสอบถามความคิดเห็นและความต้องการของคณะครูและผู้เข้าร่วมรับการอบรมว่าต้องการรูปแบบใดในการอบรม เพื่อที่จะได้มีสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น
3. ดำเนินงานของทีมงานต่าง ๆ ต้องการมีการจัดตั้งคลินิก เพื่อให้คำปรึกษาและควรมีการจัดทำเอกสาร คู่มือและสื่อต่าง ๆ ประกอบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพิ่มเติมให้มากขึ้น