การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมและเพลง อ่านต่อได้ที่: https://www.kr
ทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
ผู้วิจัย สุนิสา นุตราพันธุ์
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมและเพลง เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน ที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมและเพลง 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมและเพลง เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชาย – หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 34 คน การวิจัยครั้งนี้ ทำการทดลองใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที ระหว่างเวลา 09.00 - 09.30 น. ของวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายนพ.ศ. 2562 ถึง วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมและเพลง เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 6 หน่วย 30 แผน 2) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง สำหรับเด็กชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และการทดสอบค่าที ( t – test )
สรุปผลการวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลตำบล
เกาะพะงัน ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมและเพลง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการเปรียบเทียบจำนวน มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ ได้คะแนนเฉลี่ย สูงสุด ส่วนด้านการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด
2. ความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลตำบลเกาะพะงัน ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมและเพลงเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมมีระดับความพอใจมากในทุกด้านเรียงตามลำดับ ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการจัดบรรยากาศ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ลำดับที่ 2 ด้านการจัดประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 96.47 ลำดับที่ 3 ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์คิดเป็นร้อยละ 95.59