LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

รายงานผลโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

usericon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    การรายงานผลโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2561 โดยประยุกต์การนำรูปแบบของซิปป์ (CIPP Model) ของ Daniel L. Stufflebeam ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินงาน 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ครูผู้ปฏิบัติงานโครงการ จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ที่ไม่ใช่ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 18 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 18 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการรายงานผล การดำเนินโครงการและแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามผลการดำเนินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และฉบับที่ 2 แบบสอบถามผลการดำเนินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำหรับนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผ่านเกณฑ์การดำเนินงาน คือ ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป

ผลการดำเนินโครงการสรุปได้ ดังนี้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 3 กิจกรรม และผลที่เกิดแก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนและชุมชน ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินโครงการ
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมทอผ้ากี่เอว นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับการทอผ้ากี่เอว ซึ่งนักเรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีเกี่ยวกับการทอผ้า ในเรื่องประวัติความเป็นมาความสำคัญของสิ่งทอ สิ่งทอกับวิถีชีวิตไทยในอดีต และการทอผ้าแบบพื้นบ้านพื้นเมือง วัสดุอุปกรณ์การทอผ้า รูปแบบการทอผ้า หลักการทำงานของกี่ทอผ้า และได้ฝึกปฏิบัติการทอผ้ากี่เอว และเรียนรู้ในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในทุกวันอังคาร นอกจากนี้ยังมีปราชญ์ชาวบ้านที่ได้กำกับติดตาม และสอนเทคนิควิธีการให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หลังจากจบโครงการ
    กิจกรรมที่ 2 สร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกป่า บวชป่าร่วมกับชุมชน นักเรียนในระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ได้ร่วมกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกป่า บวชป่าร่วมกับชุมชน ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถร่วมสร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกป่า บวชป่าร่วมกับพระสงฆ์และชาวบ้านหมู่บ้านแม่ป้อกใน นักเรียนเข้าร่วมโครงการ “ยุวทูตน้อย แยงกอยผ่อป่า” ซึ่งเป็น การสร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกป่า บวชป่าร่วมกับชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และพระสงฆ์วัดหนองกวาง ในทุกวันเสาร์สมาชิกในโครงการจะไปร่วมกันทำกิจกรรม
    กิจกรรมที่ 3 อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ชนเผ่ากะเหรี่ยง นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 มีความรู้ เกี่ยวกับบริบทชุมชนบ้านแม่ป้อกใน ประวัติศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธ์กระเหรี่ยง นักเรียนได้เรียนรู้การแสดงและการละเล่น (รำดาบ ฟ้อนรำ) จากปราชญ์ชาวบ้าน มาสอนนักเรียนในกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถแสดงและทำกิจกรรมการละเล่นได้เป็นอย่างดี และนักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมเดินขึ้นดอย (ม่อนธาตุ) หรือพระธาตุเจ้าเจดีย์แม่ป้อกใน ซึ่งเป็นพระธาตุที่เก่าแก่ของหมู่บ้านแม่ป้อกในทุกปี ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณีของชาติพันธ์กระเหรี่ยงที่สืบทอดกันมา และอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป
จากการดำเนินกิจกรรมในโครงการส่งผลให้ในปีการศึกษา 2561 นักเรียนได้รับเกียรติบัตร รางวัล ทั้งระดับเครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัยและระดับเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
1) เกียรติบัตรรางวัลระดับเหรียญทองชนะเลิศ กิจกรรมการประกวดโครงงานคุณธรรม ระดับชั้น ป.1-ป.3 ระดับเครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย และรางวัลระดับเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ในงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียน
2) เกียรติบัตร รางวัลระดับเหรียญทองชนะเลิศ กิจกรรมการประกวดโครงงานคุณธรรม ระดับชั้น ป.4-ป.6 ระดับเครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย และได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ในงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียน
3) เกียรติบัตร รางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการประกวดมารยาทไทย ระดับชั้น ป.4-ป.6 ระดับเครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย
4) เกียรติบัตร รางวัลระดับเหรียญทองแดง กิจกรรมการประกวดมารยาทไทย ระดับชั้น ป.1-ป.3 ระดับเครือข่ายสถานศึกษาแม่ตืนศรีวิชัย
5) เกียรติบัตรลูกเสือดีเด่น จากสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2
ในปีการศึกษา 2561 ส่งผลให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับเกียรติบัตร รางวัล ดังนี้
1) นางจิราวรรณ พจมานเลิศพร ได้รับเกียรติบัตร ผ่านการประเมิน ห้องเรียนคุณภาพ ระดับดีเยี่ยม โครงการห้องเรียนคุณภาพ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
2) นายวีระเดช สมก๋องแก้ว ได้รับการคัดเลือกและเชิดชูเกียรติเป็นข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง พนักงานราชการ/ครูอัตราจ้างที่ทำคุณประโยชน์ทางด้านการศึกษาดีเด่น ในระดับเครือข่ายสถานศึกษา ประจำปีพุทธศักราช 2561 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
3) นายศักดา สุวรรณ์ ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2561 ประเภทครูผู้สอน จากสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2
ในปีการศึกษา 2561 ส่งผลให้โรงเรียนและผู้บริหารโรงเรียน ได้รับเกียรติบัตร รางวัล ดังนี้
1) เกียรติบัตร ชนะเลิศ ระดับเหรียญทองแดง ประเภทโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนตั้งแต่ 60 คนลงมา การคัดเลือกโรงเรียนขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ประจำปี พ.ศ.2561 โครงการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่ยั่งยืน
2) นางอังคณา ฉางข้าวคำ ได้รับการคัดเลือก เป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2561 ประเภทผู้บริหาร จากสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2

ส่วนที่ 2 ผลการตอบแบบสอบถามโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้าน แม่ป้อกใน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

    ก. ผลการดำเนินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้าน แม่ป้อกใน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จากการตอบแบบสอบถามของครูผู้ปฏิบัติงานโครงการและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน สรุปผลได้ ดังนี้
        1. ด้านบริบท (Context)
         ผลการดำเนินงานด้านบริบท (Context) โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ โครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และฉบับที่ 3 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โครงการมีหลักการการดำเนินการที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ของโรงเรียน รองลงมา อยู่ในระดับมาก คือ โครงการมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ มีความเป็นไปได้ในเชิงประจักษ์ และข้อที่มีระดับต่ำที่สุด แต่อยู่ในระดับมาก คือ กิจกรรมที่ดำเนินการตามโครงการฯ ส่งเสริมให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการใช้แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนและร่วมกันทุกฝ่ายในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกรายการ
            2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
         ผลการดำเนินงานด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน มีความเหมาะสม รองลงมา ได้แก่ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ/คอมพิวเตอร์ มีการเป็นผู้นำในการดำเนินงานโครงการการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ครูและวิทยากร มีความรัก ความเอื้ออาทร และเข้าใจนักเรียน ดูแลช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรม และข้อที่มีระดับต่ำที่สุด แต่อยู่ในระดับมาก คือ มีปริมาณของสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมอย่างเพียงพอ สรุปผลการดำเนินงาน ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกรายการ
            3. ด้านกระบวนการ (Process)
             3.1 ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการ (Process) ในขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการโครงการ ขั้นการดำเนินงานโครงการ และขั้นการประเมินผล สรุปผลงานและรายงาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีระดับสูงที่สุด เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ขั้นการดำเนินงานโครงการ ขั้นการประเมินผล สรุปผลและรายงาน และขั้นเตรียมการโครงการ ตามลำดับ สรุปผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกรายการ
            3.2 ผลการดำเนินงานด้านกระบวนการ (Process) ด้านความเหมาะสมของการดำเนินงานตามโครงการการใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า ข้อที่มีระดับมากที่สุด คือ การคัดเลือกนักเรียนเป็นสมาชิกโครงการใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น และการวางแผนขั้นตอนการดำเนินงาน รองลงมา ได้แก่ การร่วมงานประเพณี สรงน้ำพระธาตุดอยม่อนและการทำบุญประจำปี การศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล กิจกรรมการบวชป่าร่วมกับชุมชน กิจกรรมการสร้างฝายชะลอน้ำหรือฝายมีชีวิตร่วมกับชุมชน การประชุมผู้ปกครองนักเรียน กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมการปลูกป่าบริเวณโรงเรียน และรับการอบรมการป้องกันไฟป่าจากเจ้าหน้าที่สถานีไฟป่า กิจกรรมการปลูกป่าเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ วันเข้าพรรษา และข้อที่มีระดับต่ำสุด แต่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ กิจกรรมการเข้าร่วมกลุ่ม ยุวฑูตน้อยแยงกอยผ่อป่าร่วมกับชุมชน และการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขในกลุ่มวัยรุ่น ตอนต้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 สรุปผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกรายการ
             4. ด้านผลผลิต (Product)
             ผลการดำเนินงานด้านผลผลิต (Product) พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านคุณภาพนักเรียน และด้านบุคลากร ตามลำดับ สรุปผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกรายการ
         5.    ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของครูผู้ปฏิบัติงานโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ดังนี้
     5.1 ควรจัดให้มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์มาช่วยสอนร่วมกับครูผู้ปฏิบัติโครงการ เพื่อให้วัฒนธรรม ประเพณี การดำเนินวิถีชีวิตให้คงอยู่สืบไป
     5.2 ควรมีการนิเทศติดตามงานอย่างสม่ำเสมอให้มากขึ้น ทั้งจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
5.3 จัดให้มีห้องแหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน
5.4 ควรมีหลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาให้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การใช้
     5.5 ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นถึงความสำคัญของการใช้แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยร่วมสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณในการจัดกิจกรรมให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
     5.6 ควรมีการประเมินความพึงพอใจในโครงการ
        ข. ผลการดำเนินโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จากการตอบแบบสอบถามของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน สรุปผลได้ ดังนี้
            1. ผลการดำเนินงานด้านคุณภาพผู้เรียน และด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียน โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับสูงที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียน รองลงมา ได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน นักเรียนมีทักษะชีวิต สามารถหลีกเลี่ยงป้องกันภัยอันตราย และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม และข้อที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณภาพนักเรียน นักเรียนมีความร่าเริง แจ่มใสมีมนุษยสัมพันธ์ และปรับตัว นักเรียนมีคุณธรรม ความขยันอดทน กตัญญูประหยัดและมี จิตอาสา นักเรียนเกิดองค์ความรู้คู่คุณธรรม และข้อที่มีระดับความเหมาะสมต่ำสุด แต่อยู่ในระดับมาก คือ ด้านคุณภาพนักเรียน นักเรียนรู้จักตนเองและพึ่งตนเอง สรุปผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ ทุกรายการ
            2. ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินงานโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนบ้านแม่ป้อกใน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ดังนี้
2.1 เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.2 กระตุ้นให้นักเรียนมีจิตสำนึกในบ้านเกิด ร่วมอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น โดยส่งเสริมให้นักเรียนได้เผยแพร่ และแสดงออกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อสาธารณชนให้มากขึ้น
2.3 ควรมีการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการอย่างเพียงพอ จากฝ่ายบริหารและขอความร่วมมือจากชุมชน เช่น การจัดผ้าป่า ศิษย์เก่า
2.4 ควรสนับสนุนผลผลิตของนักเรียนจากโครงการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.5 ควรจัดกิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่องและหลากหลายมากขึ้น เช่น ดนตรีพื้นบ้าน

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^