การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการ
ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อผู้วิจัย นางสาวธารินี ธีระพรกิตติกุล
โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และ 4) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนป้อมแผลงไฟฟ้า จำนวน 6 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 5 คน วิชาการ 1 คนและปราชญ์ชาวบ้าน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ป้อมแผลงไฟฟ้า แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบประเภทปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน เป็นแบบวัดที่สร้างขึ้นตามวิธีการของลิเคิร์ท (Likert) จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสังเคราะห์ ผลการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าร้อยละ ค่าความแตกต่างระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และการทดสอบสมมุติฐานด้วยการหาค่า t-test dependent วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
สรุปผลการวิจัย
1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ป้อมแผลงไฟฟ้า พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการสังเคราะห์การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม พบว่า ปัญหาการเรียนของนักเรียนคือ เนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ที่มีความเกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง มีความยากและซับซ้อน ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย และไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาของบทเรียน ส่งผลให้มีพฤติกรรมที่รบกวนต่อการเรียน มีความเอาใจใส่ในการเรียนน้อยลง ไม่ทำงานตามที่ครูมอบหมาย และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมน้อย วิธีการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนคือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) อาศัยกระบวนการกลุ่มความร่วมมือในการเรียน และการทำงานร่วมกัน
2. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และผลที่เกิดกับนักเรียน และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า โดยรวมรูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีผลการตรวจสอบความเหมาะสม อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยสูงสุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.80 รองลงมาคือด้านหลักการ ด้านเนื้อหา ด้านการวัดและประเมินผลและด้านผลที่เกิดกับผู้เรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 และด้านวัตถุประสงค์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.40 ตามลำดับ
3. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีดังนี้
3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนแบบรู้การแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.56 และพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก อยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีความหลากหลายและน่าสนใจ ทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น มีค่าเฉลี่ย 5.00 รองลงมาคือ การเรียนยึดกระบวนการกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.85 และผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม กิจกรรมเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก มีค่าเฉลี่ย 4.80 ตามลำดับ
4. การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นพระประแดง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า เทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ หลังจากที่ได้มีการปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติม หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้และผลที่เกิดกับนักเรียนแล้ว ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) พบว่า โดยรวมรูปแบบการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.65 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ เนื้อหา และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.80 รองลงมา คือ ผลที่เกิดกับนักเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.70 และ หลักการ มีค่าเฉลี่ย 4.60 ตามลำดับ