รายงานผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้รายงาน : นางสาวเพ็ญนภา ศรีแปลก
ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาคุณลักษณะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่เกิดจากการจัดประสบการณ์แบบโครงการ โดยยึดพระราชดำริแบบพอเพียงที่มุ่งให้เด็กปฐมวัย เกิดคุณลักษณะพื้นฐาน 3 ด้าน คือ ด้านการบริโภคด้วยปัญญา ด้านการพึ่งพาตนเอง และด้านการประหยัด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 18 คน ของโรงเรียนบ้านท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ได้ด้วยการสุ่มอย่างง่าย เพื่อจัดให้การจัดประสบการณ์แบบเป็นระยะเวลา 36 ครั้ง ครั้งละ 5 วัน วันละ 30 นาที ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่
1.โครงการ การจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
2. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
3. แบบสังเกตพฤติกรรมคุณลักษณะแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่ 2
- สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน . และค่า t – test for Dependent Sample
ผลการศึกษาพบว่า
เด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ มีคุณลักษณะตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริโภคด้วยปัญญา ด้านการพึ่งพาตนเอง และด้านการประหยัด ในภาพรวมและแยกรายด้านสูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ โดยก่อนการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.79 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77 ( = 1.79 = 0.77 ) หลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีค่า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.97 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36 ( = 2.97 = 0.36 ) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แยกเป็นรายด้าน ได้ดังนี้
ด้านการบริโภคด้วยปัญญาก่อนการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.88
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ( = 1.88 = 0.51 ) หลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการมี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 ( = 2.96 = 0.38 )
ด้านพึ่งพาตนเองก่อนการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.76 ค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.92 ( = 1.76 = 0.92 ) หลังได้รับการจัดประสบการณ์ แบบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 ( = 2.96 = 0.38 )
ด้านการประหยัดก่อนการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.74 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.89 ( = 1.74 = 0.89 ) หลังได้รับการจัดประสบการณ์ แบบโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.97 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32 ( = 2.97 = 0.32 )