เผยแพร่ผลงานของครูรุ่งอรุณ เซ่งสีแดง
และนวัตกรรมร่วมสมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางสาวรุ่งอรุณ เซ่งสีแดง
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) การพัฒนาเพื่อหาประสิทธิภาพของ DAENG PS Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านบทอาขยาน โดยใช้สื่อประสมและนวัตกรรมร่วมสมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านบทอาขยานของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน ด้วย DAENG PS Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านบทอาขยาน โดยใช้สื่อประสมและนวัตกรรมร่วมสมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนโดยใช้ DAENG PS Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านบทอาขยาน โดยใช้สื่อประสมและนวัตกรรมร่วมสมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านยะกัง) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 16 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) DAENG PS Model เพื่อพัฒนาทักษะ การอ่านบทอาขยาน โดยใช้สื่อประสมและนวัตกรรมร่วมสมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 14 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่าน DAENG PS Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านบทอาขยาน โดยใช้สื่อประสมและนวัตกรรมร่วมสมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน โดยใช้ DAENG PS Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านบทอาขยาน โดยใช้สื่อประสมและนวัตกรรมร่วมสมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (() ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการทดสอบ ค่าที (t - test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. DAENG PS Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านบทอาขยาน โดยใช้สื่อประสมและ
นวัตกรรมร่วมสมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.87/82.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนโดย DAENG PS Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านบทอาขยาน
โดยใช้สื่อประสมและนวัตกรรมร่วมสมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนโดย DAENG PS Model เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านบทอาขยาน
โดยใช้สื่อประสมและนวัตกรรมร่วมสมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3มีความพึงพอใจในการเรียนในระดับมากที่สุด