การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
A study of academic achievement By learning management learning cycle model (5E) Together with The Exercises skills Mathematical process Fractions story, Group learning mathematics for Primary level 6 Student.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) และประสิทธิผล (E.I.) และ 2) เพื่อศึกษาผลการจัด การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคคลากรทางการศึกษา และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561-2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น มีค่าความเชื่อมั่น ( ) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 คู่มือการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.69 ถือว่ามีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้ได้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น ( ) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าประสิทธิภาพ และค่าประสิทธิผล ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.19/86.81 และดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.8198 และ 2) ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ดังนี้ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียงสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3.3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E), แบบฝึกทักษะ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ABSTRACT
This study aims to 1) To create and development of learning management learning cycle model (5E) Together with The Exercises skills Mathematical process, and 2) to study the results of learning management learning cycle model (5E) Together with The Exercises skills Mathematical process. The participants in this research included teachers and educational staff and Primary level 6 Student, academic year 2018-2019. The research instruments were document analysis, structured interviews, questionnaires Reliability level was than 0.96, manual for learning management learning cycle model (5E) Together with The Exercises skills Mathematical process, achievement test learning outcome tests Kr-20 level was than 0.69 and satisfaction surveys which have been tested Reliability level was than 0.94. The statistics used for analysis included the basic statistics such as percentage, mean, standard deviation, and hypothesis-testing statistics including efficiency (E1/E2) and effectiveness (E.I.), and T-test. The results suggest that: 1) As for the learning management learning cycle model (5E) Together with The Exercises skills Mathematical process, the efficiency (E1/E2) level was than 86.19/86.81 and effectiveness (E.I.) level was than 0.8198. and 2) The results of the learning management learning cycle model (5E) Together with The Exercises skills Mathematical process, were as follows : 2.1) The learning outcome, after learning was higher than before learning at a statistically significant level of .05. 2.2) The learning outcome, after learning was higher than the 80.00 percent criterion with statistical significant level of .05. and 2.3) The satisfaction towards, of teachers and students was at a high level.
Keywords : learning management learning cycle model (5E), The Exercises skills, The learning outcome
*********************************************************
บทนำ
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552 : 1) ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์คิดอย่างมีเหตุผลมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบตลอดจนมีทักษะการแก้ปัญหาทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555 : 1) ดังนั้นคณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เป็นสาระหนึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่นักการศึกษาคณิตศาสตร์หนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในทุกๆระดับชั้น (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555 ข : 4) ซึ่งทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์หนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาให้เกิดกับนักเรียนคือทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ อันเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เนื่องจากวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เป็นนามธรรมซึ่งการให้เหตุผลเป็นเครื่องมือที่จะเข้าใจนามธรรมนั้น (Russell, 1999 : 1) และการให้เหตุผลยังเป็นพื้นฐานของการเรียนและการดำเนินการทางคณิตศาสตร์นักเรียนจะไม่สามารถดำเนินการทางคณิตศาสตร์ได้โดยปราศจากการให้เหตุผล ซึ่งการแสดงเหตุผลที่ดีมีคุณค่ามากกว่าการที่นักเรียนหาคำตอบได้ (สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา The Nation Council of teachers of Mathematics : NCTM), 1989 : 6, 29, 81) นอกจากนี้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ด้านการสื่อสารการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ก็เป็นทักษะหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเกิดควบคู่ไปกับทักษะการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ทั้งสองทักษะ ถือได้ว่ามีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกัน ดังที่ เฟนเซลและโรแวน (Fensell and Rowan, 2001 : 289) ได้กล่าวว่าทักษะการสื่อสารการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการให้เหตุผลซึ่งการสื่อสารทางคณิตศาสตร์เป็นความสามารถของผู้เรียนในการอธิบาย ชี้แจงแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ ตัวอย่างของการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ คือ การใช้ภาษาและลักษณะทางคณิตศาสตร์ในการอธิบายขั้นตอนการแสดงเหตุผลเพื่อสนับสนุนข้อสรุปที่ได้ (อัมพร ม้าคนอง, 2547 : 102-103)
จากผลการประเมินของประเทศไทย แนวโน้มการประเมิน PISA 2000 จนถึง PISA 2015 พบว่า ผลการประเมินด้านคณิตศาสตร์มีแนวโน้มลดลง ซึ่งคะแนนเฉลี่ย CECD ของคณิตศาสตร์ใน PISA 2015 เป็นคะแนนมาตรฐานที่ 490 คะแนน นักเรียนไทยได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 415 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD มากกว่าหนึ่งระดับ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560 : 14) จากผลการประเป็น PISA ชี้ให้เห็นว่านักเรียนไทยไม่แสดงศักยภาพที่จะสามารถใช้คณิตศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้ (โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2554 : 130) เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุที่ผลการประเมิน PISA ในด้านการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำพบว่าอาจเป็นเพราะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูส่วนใหญ่ มุ่งเน้นที่การสอนเนื้อหาและทักษะ การคิดคำนวณ โดยการบอกวิธีทํา ให้ตัวอย่างและมุ่งให้นักเรียนที่ได้ตามตัวอย่าง ไม่ให้โอกาสนักเรียนในการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการฝึกให้คิดวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายและสร้างสรรค์ ซึ่งวิธีการจัดกิจกรรมเช่นนี้เป็นการจัดกิจกรรมที่ไม่ส่งเสริมกระบวนการคิดและทำลายศักยภาพในการที่ของนักเรียน (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2555 : 129)
การจัดการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดความสามารถในการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการเรียนคณิตศาสตร์ และยังมีนักเรียนเป็นจำนวนมากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ จากการสัมภาษณ์ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดกลางทุมมาวาส “ศิริอุปถัมภ์” ปีการศึกษา 2560 พบว่า มีผลสัมฤทธิ์นักเรียนค่อนข้างต่ำ และไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80.00 ไม่สามารถแสดงวิธีทำการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หากได้เขียน ได้กล่าว คือ นักเรียนไม่สามารถใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เขียนอธิบายขั้นตอนในการแก้ปัญหาหรือขั้นตอนในการพิสูจน์ได้ รวมทั้งนักเรียนยังประสบปัญหาการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเศษส่วนที่กล่าว คือ นักเรียนไม่สามารถตรวจคำตอบ และให้เหตุผลประกอบแต่ละขั้นตอนในการแก้ปัญหาหรือการพิสูจน์ได้ โดยเฉพาะหน่วยการเรียนรู้ เศษส่วน ซึ่งมีเนื้อหาที่เน้นการเขียนอธิบายขั้นตอนในการพิสูจน์ หรือแสดงขั้นตอนในการแก้ปัญหารวมทั้งเน้นการเขียนเพื่อแสดงเหตุผลประกอบแต่ละขั้นตอนของการพิสูจน์และการแก้ปัญหา นอกจากนี้ยัง พบว่า การใช้สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นอยู่นั้น ซึ่งอาจมีความน่าเบื่อหน่ายในการใช้สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีรูปแบบจำเจ ซ้ำซาก และไม่หลากหลาย นอกจากนี้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนที่อาจดูน่าจำเจ
การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในลักษณะของความเป็นเหตุผลจะทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ เกิดความมั่นใจ เชื่อว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีเหตุผลนักเรียนสามารถทำความเข้าใจได้ และสามารถที่จะค้นพบสิ่งใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง นักเรียนที่เรียนด้วยความเข้าใจและมีเหตุผล จะตระหนักว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่อาศัย การให้เหตุผลอย่างมีระบบและจะเป็นการพัฒนาพื้นฐาน แนวการเรียนรู้คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ซึ่งจะมีคุณค่าต่ออนาคตของนักเรียน จึงต้องกำหนดเป้าหมายของการเรียน คณิตศาสตร์ว่า นักเรียนจะต้องเป็นผู้มีความรู้และความสามารถใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ได้ กฎเป้าหมายในการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับผู้เรียน 5 ประการ คือ 1) เห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ 2) มีความมั่นใจในความสามารถของตนเอง 3) สามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ 4) สามารถสื่อสารแนวคิดทางคณิตศาสตร์ได้ และ5) สามารถให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ได้ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2547 : 2)
การจัดการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการให้ผู้เรียนใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว แต่ยังขาดขั้นตอนการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับสิ่งที่ต้องการให้เรียนรู้ใหม่ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ดีขึ้น มีความสอดคล้องกับทฤษฏีการเรียนรู้ตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism) (สุจินต์ วิศวธีรานนท์, 2544 : 44-50) ที่ว่าการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงจากการให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอก มาสู่ปัจจัยภายในของผู้เรียน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่ บุคลิกภาพของครู การแสดงออก ความกระตือรือร้น คำชมเชย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความหมายของนักเรียนทั้งสิ้น และพบว่า ความรู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียน แนวคิดนี้มีรากฐานมาจากปรัชญาคอนสตรัคติวิซึมที่เชื่อกันว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความเข้าใจที่มีอยู่เดิม และยังขาดขั้นตอนการสอนให้ผู้เรียนได้คิดเชื่อมโยงเพื่อต่อยอดความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเข้มของการเรียนรู้ในเนื้อหาที่เรียนรู้นั้นให้กว้างขวางยิ่งขึ้นน่าจะมีผลดีต่อการเรียนรู้ และส่งผลดีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้ ขั้นตอนที่สำคัญที่กล่าวถึงนั้น เป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ในขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5 E) ซึ่งเป็นขั้นตอนการสอนที่ขยายส่วนจาก อาร์เธอร์ ไฮเซนคราฟท์ (Arthur Eisenkraft. 2003 อ้างถึงใน นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ และประจวบจิตร คาจัตุรัส, 2555:15-18) ดังนั้น ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21 ที่มีหลักสำคัญที่เกี่ยวข้อง คือ 1) ทักษะทางด้านเทคโนโลยี 2) ความสนใจใคร่รู้และมีจินตนาการ 3) การคิดวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา 4) ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม 5) ทักษะในการสื่อสารและร่วมมือกัน 6) การคิดในเชิงธุรกิจและทักษะประกอบการ และ 7) ทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการสนใจต่อโลก เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นในศตวรรษที่ 21 (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2557 : 14-16)
เนื่องจากผู้วิจัยเห็นความสำคัญของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางในศตวรรษที่ 21 จึงมีความประสงค์ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยมั่นใจว่า การวิจัยครั้งนี้ จะประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี และยังช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียน สามารถตอบสนองความต้องการของหลักสูตรสถานศึกษา และพัฒนานักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่ดี เป็นพลเมืองดี มีคุณภาพ เห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อสร้างและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) และประสิทธิผล (E.I.)
2. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร คือ ครูและบุคคลากรทางการศึกษา และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดกลางทุมมาวาส “ศิริอุปถัมภ์” ปีการศึกษา 2561-2562
1.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคคลากรทางการศึกษา และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดกลางทุมมาวาส “ศิริอุปถัมภ์” ปีการศึกษา 2562 รวมเป็น 57 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
1.2.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 23 คน
1.2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 34 คน
2. ขอบเขตเนื้อหา
หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3. ขอบเขตพื้นที่
โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดกลางทุมมาวาส “ศิริอุปถัมภ์”
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการงานพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis)
ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนา (Design & Development)
ขั้นตอนที่ 3 การนำไปใช้ (Implement)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมิน (Evaluation)
1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.1 แบบวิเคราะห์เอกสาร
1.2 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์
1.3 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการวิจัยและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความคิดเห็นด้วยต่อการวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ โดยภาพรวมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.32 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่น ( ) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพที่น่าเชื่อถือสามารถนำไปใช้ได้
1.4 คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.90 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพที่น่าเชื่อถือสามารถนำไปใช้ได้
1.5 แบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.96 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพที่น่าเชื่อถือสามารถนำไปใช้ได้
1.6 แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) มีค่าความสอดคล้องและความเหมาะสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.29 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพที่น่าเชื่อถือสามารถนำไปใช้ได้
1.5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถม-ศึกษาปีที่ 6 มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.67-0.94 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.44-0.67 และค่าความเชื่อมั่น (KR-20) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.69 ถือว่ามีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้ได้
1.6 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.24 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่น ( ) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.94 ซึ่งอยู่ในระดับคุณภาพที่น่าเชื่อถือสามารถนำไปใช้ได้
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถม-ศึกษาปีที่ 6 ไปใช้กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียน (pre-test) รายบุคคล
2.2 ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามคู่มือครู หมายถึง คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถม-ศึกษาปีที่ 6 และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมเป็นเวลา 20 ชั่วโมง แจกแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง โดยลงมือทำแบบทดสอบก่อนเรียน ศึกษาบทเรียนเนื้อหาใน ใบความรู้ และทำแบบฝึกทักษะให้ครบ และทำแบบทดสอบหลังเรียน ของแต่ละเล่ม เพื่อเก็บคะแนน
2.3 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถม-ศึกษาปีที่ 6 ไปใช้กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลอง (Post-test) รายบุคคล
2.4 นำแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปใช้กับครูและนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างหลังการดำเนินการทดลอง
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางระบบคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ซึ่งมีสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าประสิทธิผล (E.I.) ค่า t-test
สรุปผลการวิจัย
1. การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.19/86.81 และดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.8198
2. ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียงสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
2.3 ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
อภิปรายผลการวิจัย
1. การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.19/86.81 และดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.8198 ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้ผ่านกาตรวจสอบคุณภาพเครื่องมืออย่างเป็นขั้นตอน จากการทดลองแบบ 1:1:1 (Individual Tryout) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 66.11/77.78 ต่อมาแบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 74.09/79.81 และแบบกลุ่มใหญ่ (large Group Tryout) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.11/85.83 และแบบกลุ่มใหญ่ (large Group Tryout) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.77/85.51 จะเห็นได้ว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80.00/80.00 และการทดลองแบบ 1:1:1 (Individual Tryout) มีค่าประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.7222 ต่อมาแบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) มีค่าประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.7447 และแบบกลุ่มใหญ่ (large Group Tryout) ชั้นประถม-ศึกษาปีที่ 6/1 มีค่าประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.8177 และแบบกลุ่มใหญ่ (large Group Tryout) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 มีค่าประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.8148 จะเห็นได้ว่า มีประสิทธิผล (E.I.) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 0.50 หรือคิดเป็นร้อยละ 50.00 จึงทำให้ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สอดคล้องกับ (วันวิสาข์ ศรีวิไล, 2555) ได้ทำการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบผสมผสานระหว่างวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ผลการวิจัยปรากฏว่า ชุดกิจกรรมการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.06/ 84.11 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละชุดมีประสิทธิภาพเรียงตามลำดับ ดังนี้ 81.91, 82.96, 82.44, 82.83, และ 80.15
2. ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้ 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัด การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียงสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 2.3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับ (วันวิสาข์ ศรีวิไล, 2555) ได้ทำการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนกลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนแบบผสมผสานระหว่างวัฏจักร การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) กับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมแตกต่างจากก่อนเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมแตกต่างจากก่อนเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน และค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ย 3.38 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ระดับดี (ระดับ 4)
3. การประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561-2562 จากการวิจัยและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแบบฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80.00 และมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับผลการวิจัยของ บิลลิ่งส์ (Billings. 2002 : 840) ได้ศึกษาการประเมินผลการเรียนด้วย แบบสืบเสาะกับแบบวัฎจักรการเรียนรู้ในวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษา โดยศึกษาผลเป็นเวลา 5 ปีกับนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้น 28 คน การเก็บข้อมูลการสังเกต และแบบทดสอบและแบบสอบถามผลการศึกษา พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยวัฎจักรการเรียนรู้ มีระดับความสนใจในเนื้อหาวิชาเพิ่มร้อยละ 56 ขึ้นไป นักเรียนร้อยละ 75 มีความสนุกกับการเรียนแบบวัฎจักรการเรียนรู้ ร้อยละ 66 ชอบการเรียนแบบวัฎจักรการเรียนรู้และนักเรียนมีคะแนนระดับความสามารถเท่ากับร้อยละ 85 โดยสรุปการเรียนแบบวัฎจักรการเรียนรู้เป็นรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพที่ส่งเสริมการเรียนรู้และทำให้นักเรียนมีความพอใจในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 จากการศึกษาที่พบว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น ดังนั้น จึงควรสนับสนุนให้ครูเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิต และพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครูได้เพิ่มขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2 ควรเน้นให้นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ กระบวนการคิดวิเคราะห์ รู้จักการแสดงความคิดเห็น อภิปราย และการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.3 ผู้ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ให้ดีขึ้น และบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
2. ข้อเสนอแนะการศึกษาครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ หรือสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้เพิ่มเติมในระดับชั้นอื่น ๆ ด้วยโดยให้มีเนื้อหาสาระตรงกับความสนใจ และความต้องการของนักเรียน
2.2 ควรมีการศึกษาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะการคิดที่หลากหลาย เช่น คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ในเรื่องอื่น ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบตามแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
*********************************************************
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ และประจวบจิตร คำจัตุรัส. (2555). การนำความรู้ชีววิทยาและเคมีมาจัดการเรียนการสอนในเอกสารประมวลชุดวิชาชีววิทยาและเคมีสำหรับครู. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วันวิสาข์ ศรีวิไล. (2555). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องพืช สำหรับนักเร