การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้
ผู้วิจัย นางสาววิลาภรณ์ สีทาบุตร โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว เทศบาลนครอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่4ที่มีตอการเรียนการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้ สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานีโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนและหลังการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีตอการเรียนรู้การสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าทางสถิติ(Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเกณฑ์การประเมินทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเข้าใจง่าย ( = 4.51 S.D. = 0.62) ด้านความคล่องแคล่ว ( = 4.49 S.D.= 0.67) ด้านคุณภาพของการสื่อสาร ( = 4.47 S.D. = 0.65) และด้านปริมาณการสื่อสาร ( = 4.39 S.D. = 0.66)
2. ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีตอการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว ในภาพรวมของความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.39 S.D. = 0.29) เมื่อพิจารณา เรียงลำดับค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านเจตคติต่อการเรียนโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.42 S.D. = 0.11) รองลงมา คือ ด้านพัฒนาการเรียนของนักเรียน ( = 4.40 S.D. = 0.29) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ( = 4.35 S.D. = 0.41) เป็นลำดับสุดท้าย