การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ศูนย์พั
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหันคา โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน
ผู้ศึกษา นางสาววรรณา เนียมยิ้ม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สังกัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหันคา
อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน (2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 - 4 ขวบ ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นเตรียมอนุบาลปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหันคา อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 16 คน ใช้เวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กโดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน จำนวน 10 แผน (2) คู่มือการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหันคา โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน (3) แบบประเมินความเหมาะสมของแผน การจัดประสบการณ์กิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ของเล่นพื้นบ้านของเด็กปฐมวัย (4) แบบสังเกตประเมินพฤติกรรมด้านความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม (5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง ของเล่นพื้นบ้าน ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ (%) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 135.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 5.18 คิดเป็นร้อยละ (%) เท่ากับ 90.50
2. การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นเตรียมอนุบาลปีที่ 1 ก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 72.75,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 4.75 และหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน อยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 135.75 ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 5.18 และเมื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาก่อนและหลังการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ของเล่นพื้นบ้าน พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ของเล่นพื้นบ้านจึงมีผลดีต่อเด็กปฐมวัย