การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
มีวิจารณญาณ เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางสาวปิยะนารถ บัวผาย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (2.2) ศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีคะแนนในการคิดอย่างมีวิจารณญาณตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป (2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความสามารถในการคิดแบบมีวิจารณญาณ และ4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.23/84.11 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดังนี้
(2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิด
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
(2.2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 85.17 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป
(2.3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, S.D. = 0.37)